วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เด็กที่มีความบกพร่องชนิดออทิสซึม (Autistic Child)

เด็กที่มีความบกพร่องชนิดออทิสซึม (Autistic Child)
นายกุลพันธ์ เพ็ชรเพ็ง
นักศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาคลินิกและชุมชน คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เด็กออทิสติก (Autistic Child) คืออะไร
        เด็กออทิสติก คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการด้านการสื่อสาร ภาษา และ ด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น ภาวะอาการออทิสติก เกิดได้กับเด็กทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ทุกวัฒนธรรม และทุกสภาพครอบครัว ส่วนสาเหตุที่แน่นอนยังไม่สามารถอธิบายได้ แต่ทางการ แพทย์เชื่อว่า ภาวะอาการออทิสติก อาจเกิดจากพัฒนาการที่ผิดปกติจากการผสมผสานการรับรู้ความรู้สึก และการเคลื่อนไหว จึงทำให้มีพฤติกรรมที่ผิดปกติ
ประวัติความเป็นมา
        ปี ค.ศ.1943 มีการรายงานผู้ป่วยครั้งแรก โดยนายแพทย์ลีโอ แคนเนอร์ (Leo Kanner) จิตแพทย์ สถาบันจอห์น ฮอปกินส์ รายงานผู้ป่วยเด็กจำนวน 11 คน ที่มีอาการแปลกๆ เช่น พูดเลียนเสียง พูดช้า สื่อสารไม่เข้าใจ ทำซ้ำๆ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่สนใจคนอื่น เล่นไม่เป็น และได้ติดตามเด็กอยู่ 5 ปี พบว่าเด็กเหล่านี้ต่างจากเด็กปัญญาอ่อน จึงเรียกชื่อเด็กที่มีอาการเช่นนี้ว่า “ออทิสซึม” (Autism)
       ปี ค.ศ.1934 นายแพทย์ ฮานส์ แอสเพอร์เกอร์ (Hans Asperger) กุมารแพทย์ ชาวออสเตรีย พูดถึงเด็กที่มีลักษณะเข้าสังคมลำบาก หมกมุ่นอยู่กับการทำอะไรซ้ำๆ ประหลาดๆ แต่กลับพูดเก่งมาก และดูเหมือนจะฉลาดมากด้วย แต่ว่าแอสเพอร์เกอร์ ถูกวิกฤตหลังสงครามโลกครั้งที่สองกลืนหายจนหมดซุ่มเสียง ไม่มีใครสานต่องานวิจัยออทิสซึมในความหมายของแอสเพอร์เกอร์ คล้ายคลึงกับของแคนเนอร์มาก นักวิจัยรุ่นหลังจึงสรุปว่า หมอ 2 คนนี้พูดถึงเรื่องเดียวกัน แต่ในรายละเอียดที่แตกต่างกัน ซึ่งในปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน คือ ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน (Pervasive Developmental Disorders)

ระบาดวิทยา (epidemiology)
— - โรคออทิซึม พบได้ 4-5 : 10,000 ตามเกณฑ์การวินิจฉัย DSM IV และ 21 : 10,000 ตามการวินิจฉัยแบบ Autistic Spectrum
— - พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4 เท่า (ในไทยพบเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 3.3 เท่าโดยในเด็กหญิงมักมีความรุนแรงมากกว่าเด็กชาย  
 —- มีโอกาสเกิดโรคในพี่น้องของเด็กออทิสติกร้อยละ  3-7
 - พบในทุกเชื้อชาติ และเศรษฐานะ
 - ส่วนใหญ่มีความบกพร่องทางสติปัญญาร่วมด้วย โดยพบภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรงร้อยละ 50 ระดับน้อยถึงปานกลางร้อยละ 30 และไม่พบภาวะปัญญาอ่อนร้อยละ 20

เกณฑ์การวินิจฉัย (Diagnostic criteria.)
       เกณฑ์การวินิจฉัยโรคออทิสติก ตามคู่มือการวินิจฉัยโรค DSM-IV โดยสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Psychiatric Association's Diagnostic and Statistic Manual of Mental Disorder - Forth Edition, 1994) จัดโรคออทิสติก (Autistic Disorder) อยู่ในกลุ่ม “Pervasive Developmental Disorders” ซึ่งก็คือ มีความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน แสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ก่อให้เกิด พัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และการสื่อสาร ไม่เป็นไปตามปกติ มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ผิดปกติ
       กำหนดหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยออทิสติกดังนี้
A. เข้าเกณฑ์ต่อไปนี้ 6 ข้อหรือมากกว่า จากหัวข้อ (1) (2) และ (3) โดยอย่างน้อยต้องมี 2 ข้อ จากหัวข้อ (1) และจากหัวข้อ (2) และ (3) อีกหัวข้อละ 1 ข้อ
1. มีคุณลักษณะในการเข้าสังคมที่ผิดปกติ โดยแสดงออกอย่างน้อย 2 ข้อต่อไปนี้
1.1. บกพร่องอย่างชัดเจนในการใช้ท่าทางหลายอย่าง (เช่น การสบตา การแสดงสีหน้า กิริยาหรือท่าทางประกอบการเข้าสังคม)
1.2. ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนในระดับที่เหมาะสมกับอายุได้
1.3. ไม่แสดงความอยากเข้าร่วมสนุก ร่วมทำสิ่งที่สนใจ หรือร่วมงานให้เกิดความสำเร็จกับคนอื่นๆ (เช่น ไม่แสดงออก ไม่เสนอความเห็น หรือไม่ชี้ว่าตนสนใจอะไร)
1.4. ไม่มีอารมณ์หรือสัมพันธภาพตอบสนองกับสังคม
2. มีคุณลักษณะในการสื่อสารผิดปกติ โดยแสดงออกอย่างน้อย 1 ข้อต่อไปนี้
2.1. พัฒนาการในการพูดช้าหรือไม่มีเลย โดยไม่แสดงออกว่าอยากใช้การสื่อสารวิธีอื่นมาทดแทน (เช่น แสดงท่าทาง)
2.2. ในรายที่มีการพูดได้ ก็ไม่สามารถเริ่มพูดหรือสนทนาต่อเนื่องกับคนอื่นได้
2.3. ใช้คำพูดซ้ำหรือใช้ภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจ
2.4. ไม่มีการเล่นสมมติที่หลากหลาย คิดเองตามจินตนาการ หรือเล่นเลียนแบบสิ่งต่างๆ ตามสมควรกับพัฒนาการ
3. มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัด ใช้ซ้ำ และรักษาเป็นเช่นเดิม โดยแสดงออกอย่างน้อย 1 ข้อ ต่อไปนี้
3.1. หมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้ำๆ (stereotyped) ตั้งแต่ 1 อย่างขึ้นไป และความสนใจในสิ่งต่างๆมีจำกัด ซึ่งเป็นภาวะที่ผิดปกติทั้งในแง่ของความรุนแรงหรือสิ่งที่สนใจ
3.2. ติดกับกิจวัตร หรือย้ำทำกับบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีประโยชน์โดยไม่ยืดหยุ่น
3.3. ทำกิริยาซ้ำๆ (mannerism) (เช่น เล่นสะบัดมือ หมุน โยกตัว)
3.4. สนใจหมกมุ่นกับเพียงบางส่วนของวัตถุ
B. มีความช้าหรือผิดปกติในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ ก่อนอายุ 3 ปี
(1) ปฏิสัมพันธ์กับสังคม
(2) ภาษาที่ใช้สื่อสารกับสังคม
(3) เล่นสมมติหรือเล่นตามจินตนาการ
C. ความผิดปกติไม่เข้ากับ Rett's Disorder หรือ Childhood Disintegrative Disorder ได้ดีกว่า
กุญแจสำคัญ ที่เป็นตัวทำนาย โรคออทิสติก ในเด็กอายุ 18 เดือนขึ้นไป มี 4 อาการหลัก ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติเหล่านี้ตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป ควรนึกถึงโรคออทิสติก และควรมีการดำเนินการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค และให้ความช่วยเหลืออย่างทันที อาการดังกล่าว คือ
•  เล่นสมมติ เล่นจินตนาการไม่เป็น (lack of pretend play)
•  ไม่สามารถชี้นิ้วบอกความต้องการได้ (lack of protodeclarative pointing)
•  ไม่สนใจเข้ากลุ่ม หรือเล่นกับเด็กคนอื่น (lack of social interest)
•  ไม่มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสนใจร่วมกับคนอื่นได้ (lack of joint attention)

สาเหตุของภาวะ/โรคออทิสซึม 
        มีความพยายามในการศึกษาถึงสาเหตุของโรคออทิสติก แต่ยังไม่ทราบสาเหตุของความผิดปกติที่ชัดเจน ในปัจจุบันมีหลักฐานสนับสนุนว่าน่าจะเกิดจากการทำงานของสมองผิดปกติ มากกว่าเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม
ในอดีตเคยเชื่อว่าโรคออทิสติก เกิดจากการเลี้ยงดูในลักษณะที่เย็นชา (refrigerator) แต่จากหลักฐานข้อมูลในปัจจุบันยืนยันได้ชัดเจนว่า รูปแบบการเลี้ยงดูไม่เกี่ยวข้องกับการเกิด
โรคออทิสติก
ปัจจัยทางชีววิทยา (biological factor) ที่พบว่าเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคออทิสติก จากการรวบรวมข้อมูลงานวิจัยต่างๆ มีดังนี้
1. ด้านพันธุกรรม  (Genetic Factor)
  ก. ร้อยละ 2-6  ของพี่น้องผู้ป่วยเป็นโรคนี้ด้วย และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับอัตราการเป็น
โรคนี้ในเด็กโดยทั่วไปแล้ว จะสูงกว่าพบในเด็กทั่วไปถึง 50 เท่า
  ข. จากการศึกษาคู่แฝด พบว่าคู่แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน ถ้าคนหนึ่งเป็นโรค อีกคนจะ
มีโอกาสเป็นด้วยถึงร้อยละ 36-60 ในขณะที่คู่แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ ถ้าคนหนึ่งเป็น 
โรค อีกคนจะไม่เป็น
  ค. การศึกษากลุ่มตัวอย่างโดยเอาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการรับรู้การเข้าใจ (cognition
มารวมด้วย พบว่าร้อยละ 92 ของคู่แฝดจากไข่ใบเดียวกันจะเป็นทั้งโรคนี้ และโรคที่เกิด
จากความผิดปกติของการรับการเข้าใจ ในขณะที่คู่แฝดจากไข่คนละใบมีโอกาสเป็นเพียง
ร้อยละ10
  ง. ศึกษาโครโมโซม และวิเคราะห์ความเชื่อมโยง (chromosome study and linkage 
analysis) พบว่าเกี่ยวข้องกับ โครโมโซม 15q 11-13, โครโมโซม 7q และโครโมโซม 16p
2. ด้านเภสัชวิทยาระบบประสาท (Neuropharmacological Study)
พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับสารเคมีสื่อประสาท ซีโรโทนิน (serotonin) โดยมีระดับในเกล็ด
เลือดสูงขึ้น แต่ยังไม่สามารถอธิบายเหตุผลที่ชัดเจนได้ ว่าเกิดจากอะไร
3. คลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography - EEG)
พบว่ามีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมอง มากกว่าประชากรปกติ แต่ไม่พบลักษณะ
จำเพาะที่อธิบายความผิดปกติของการทำงานของสมองได้
4. ภาพฉายระบบประสาท (Neural Imaging)
พบความผิดปกติหลากหลายรูปแบบ แต่ยังคลุมเครืออยู่ ไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจน เช่น
cerebellar vermis hypoplasia or hyperplasia, third ventricle ใหญ่ , caudate เล็ก , right
 anterior cingulate gyrus เล็ก
5. พยาธิวิทยาระบบประสาท (Neuropathological Study)
ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่จากหลายการศึกษาพบว่าเกี่ยวข้องกับจำนวน Purkinje cell
ที่ลดลง
6. การศึกษาปริมาตรของสมอง (Study of Brain Volume)
พบว่ามีปริมาตรของสมองเพิ่มขึ้น ยกเว้นสมองส่วนหน้า (frontal lobe) และพบว่าเส้นรอบ
วงของศีรษะ (head circumference) ปกติในตอนแรกเกิด แล้วเริ่มมากผิดปกติในช่วงวัยเด็ก
ตอนต้นถึงตอนกลาง
7. มารดามีโรคแทรกซ้อนก่อนคลอด และระหว่างคลอด
พบว่าบุคคลที่เป็นออทิสติกจำนวนมากเป็นโรคของสมองด้วย เช่น cerebral palsy, 
congenital rubella, toxoplasmosis, tuberous sclerosis, cytomegalovirus infection, lead 
encephalopathy, meningitis, encephalitis, cerebral hemorrhage, epilepsy โรคของสมอง 
หรือโรคที่เป็นมาแต่กำเนิดโดยกล่าวหลายโรค เป็นผลมาจากภาวะแทรกซ้อนของมารดา
ซึ่งเกิดคลอด และระหว่างคลอด รวมทั้งโรคแทรกซ้อนของเด็กแรกเกิดด้วยได้มีข้อ
สันนิษฐานว่าเด็กซึ่งเป็นโรคนี้มาแต่กำเนิด สมองได้รับบาดเจ็บในระยะก่อนคลอด และ
ระหว่างคลอด ส่วนเด็กที่มีพัฒนาการปกติมาระยะหนึ่งแล้วจึงเป้นโรค สมองจะได้รับบา
เจ็บภายหลังคลอด
8. ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
ได้มีรายงานวิจัยพบว่าระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยมีความผิดปกติหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
  1. ประสิทธิภาพของ natural killer cell ลดลงชัดเจนในร้อยละ 40 ของผู้ป่วย
  2. ความเข้มข้นของ  Complement C 4B protein ในพลาสมา ของผู้ป่วยทั้ง 42 ราย ต่ำผิด
ปกติ
  3. พบว่าในผู้ป่วย 13 ราย จาก 17 ราย การตอบสนองของระบบภุมิคุ้มกันต่อ human basic
 protein (ส่วนหนึ่งของ myelin) ถูกยับยั้ง ผู้วิจัยได้เสนอข้อสันนิษฐาน่าผู้ป่วยมี  
 autoimmune ต่อ brain antigen  และได้รับการสนับสนุนจากรายงานการวิจัยพบว่า ผู้ป่วย
ในโรคนี้ 19 ราย จาก 33 ราย มี antibodies ต่อ myelin basic protein เพิ่มขึ้นสูงกว่ากลุ่มคน
ปกติถึง 6 เท่าผลการตรวจตังกล่าวบ่งชี้ว่าประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งถูกยับยั้ง
autoimmune mechanism หรือคามผิดปกติของการควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมี
ความสัมพันธ์กับสาเหตุของโรคนี้
9. โรคของระบบประสาท 
พบว่าร้อยละ 30-50 จองผู้ป่วยมีความผิดปกติของระบบประสาท อาการ
ดังต่อไปนี้
  1. hypotonia or  hypertonic 2. disturbance of body schema 3. clumsiness  
4. choreiform movement 5. pathological reflexes 6. myoclonus 7. drooling 
8. abnormal posture and gait 9. dystonia 10.tremor 11. ankle clonus 
12. facial palsy 13. strabismus  
อาการทั้งหมดนี้เป็นมาจากความผิดปกติของ basal ganglia โดยเฉพาะที่ 
neostriatum และส่วนของสมองบริเวณ  medial aspects  ของ frontal lobe หรือ 
limbic system

อาการทางคลินิก Clinical symptoms.
  ลักษณะสำคัญของคือผู้ป่วยไม่สามารถติดต่อสื่อ และสื่อความหมายกับผู้อื่น
 ทำให้ต้องอยู่ลำพังในโลกของตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถใช้กิริยาท่าทางเพื่อสื่อความ
หมายในการติดต่อกับผู้อื่น เช่นการสบตา การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง ทำให้
ขาดความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ไม่สนใจที่จะร่วมกิจกรรม ขาดอารมณ์ตอบสนองต่อ
ปฏิกิริยาที่ได้รับ เช่นไม่ชอบเล่นกับผู้อื่น แต่ละชอบเล่นอยู่เพียงลำพัง หรืออาจเข้า
ร่วม แต่จะดูเหมือนหุ่นยนต์ ไม่รับรู้ความเป็นไปเป็นของผู้อื่น รวมทั้งไม่เข้าใจ
ความต้องการ หรือความทุกข์ใจของผู้อื่น
  
ความผิดปกติของการสื่อความหมายมักเป็นรุนแรง และเป็นนาน โดยจะเกิดกับ
ทักษะที่เกี่ยวกับการพูด และไม่เกี่ยวกับการพูด โดยพัฒนาการทางพูดจะช้า หรือ
ไม่มีเลย ผู้ป่วยที่พูดได้จะไม่สามารถเริ่มต้น หรือร่วมสนทนากับผู้อื่นได้ หรือบาง
รายอาจพูดซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ หรือคิดคำพูดมาเองโดยที่ผู้อื่นไม่รู้เรื่อง(neologism
ลักษณะการพูดจะผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นระดับเสียง จังหวะ หรือการเน้นคำ โดยจะ
พูดไปเรื่อยๆ และระดับเสียงเสมอกัน (monotonous
คำพูดผิดไวยากรณ์ พูดซ้ำๆ ใช้คำสัมผัส หรือพูดความคำโฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ 
ผู้ป่วยอาจไม่เข้าใจคำถาม คำบอกเล่า หรือเรื่องราวขำขันง่ายๆ จะไม่มีการเล่นตาม
จินตนาการเหมือนเด็กปกติ รวมทั้งไม่เข้าใจการเล่นบทบาทเลียนแบบ  บางครั้ง
จะสนใจอยู่กับบางกิจกรรมนานๆ หรือหมกมุ่นอยู่กับส่วนหนึ่งส่วนใดของวัตถุ
สิ่งของ มีท่าทางกิริยาแปลกๆ คิดเป็นนิสัย อาจครุ่นคิดเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นพิเศษ  
จะไม่ยอมให้ใครมาเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของตน  และจะต่อต้าน หรือรู้สึกไม่
สบายใจต่อการเปลี่ยนแปลง  เช่น เด็กเล็กเกิดความตกใจกลัวอย่างรุนแรงต่อการ
เปลี่ยนผ้าม่านในห้อง หรือถูกเปลี่ยนที่นั่งรับประทานอาหาร มักยึดติดการกระทำ
เดิมๆ โดยขาดเหตุผล เช่น เดินทางไปโรงเรียนทางเดิมทุกวัน ไม่ยอมเปลี่ยนเส้น
ทาง 
อาการอื่น และโรคที่พบร่วมด้วย
   ผู้ที่เป็นออทิสติกส่วนใหญ่จะมีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าปกติ (IQ 35-50) ร้อยละ 
75 มีความสามารถเท่ากับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อาจมีความผิดปกติ
ของพัฒนาการเกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถเรียนรู้ทางด้านต่างๆ จะไม่เท่ากัน  
บางมีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ซนผิดปกติ สมาธิสั้น ขาดการยับยั้งใจ (impulsivity
ก้าวร้าว ทำร้ายตัวเอง การตอบสนองต่อสิ่งเร้าบางอย่าง เช่น ทนต่อความเจ็บปวด 
มีปฏิกิริยาไวต่อแสง เสียง การสัมผัส หรือกลิ่น บางรายอาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับ
การรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารบางชนิด หรือสิ่งซึ่งไม่ใช่อาหาร 
(pica) เช่น สี เชือก ผม ใบไม้ เป็นต้น อารมณ์ผิดปกติ เช่น หัวเราะ หรือร้องไห้โย
ไม่มีเหตุผล  และขาดการตอบสนองงต่อสิ่งเร้า อาจไม่มีความกลัวเมื่อประสบ
อันตราย  หรือกลัวมากต่อสิ่งที่ไม่เป็นอันตราย บางรายอาจทำร้ายตัวเอง เช่น เอา
ศีรษะโขกกับพื้น  กัดนิ้ว กัดข้อมือ
แนวทางการดูแลเด็กออทิสติก

การดูแลเด็กออทิสติค เป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมเพื่อดึงเด็กออกจากโลกตนเองมา
สู่สังคมในบ้าน ก่อนจะออกไปสู่สังคมนอกบ้าน เข้าสู่โรงเรียนและชุมชนต่อไป 
แนวทางการดูแลที่สำคัญมีดังนี้
1.นำเด็กออกจากโลกของตัวเองสู่สังคมในบ้าน

กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อให้มีการพัฒนาสมองของเด็กให้ตื่นตัวและทำ
หน้าที่ได้อย่างมีศักยภาพ เนื่องจากเด็กออทิสติคจะแสดงพฤติกรรมไม่รับรู้ ไม่ตอบ
สนองหรือตอบสนองน้อยหรือมากไป ต่อสิ่งเร้าประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ

1.1 การกระตุ้นประสาทสัมผัสทางผิวกาย เพื่อให้รับรู้ถึงความใกล้ชิดระหว่าง
บุคคล การเล่นปูไต่ การเล่นจั๊กจี้ด้วยมือ การใช้จมูกหรือคางซุกไซ้ตามตัวเด็ก การ
นวดตัว การอุ้ม การกอด ทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดความรัก ความอบอุ่น ความมีเยื่อใย
ซึ่งกันและกัน ซึ่งในเด็กออทิสติคนั้น จะแยกตัวจากบุคคล จึงควรดึงเขาเข้ามาหา
เรา สร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่และเด็กออทิสติคก่อน ควรกระตุ้นซ้ำๆทุก
วัน
 
1.2 การกระตุ้นประสาทสัมผัสทางตา เด็กออทิสติคทุกคนมีปัญหาในการสบตา
อย่างมากเนื่องจากมีการสูญเสียทางด้านสังคม และการสื่อความหมาย การกระตุ้น
ในระยะเริ่มแรกจะเน้นเฉพาะการมองสบตากับบุคคลก่อน 

1.3 การกระตุ้นประสาทสัมผัสทางหู จะใช้เสียงบุคคลที่ใกล้ชิดกับเด็ก โดย
กระซิบเรียกชื่อเด็กที่ข้างหู ต่อไปอาจใช้เสียงดนตรีช่วย เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และ
การสื่อความหมาย 

1.4 การกระตุ้นประสาทสัมผัสทางจมูก เพื่อให้เด็กได้รับรู้และเรียนรู้ถึงความแตก
ต่างของกลิ่น เช่น กลิ่นอาหาร ผลไม้ ดอกไม้ เป็นต้น 

1.5 การกระตุ้นประสาทสัมผัสทางลิ้น เพื่อให้เด็กได้รับรู้และเรียนรู้ความแตกต่าง
ของรสอาหาร เช่นเปรี้ยว หวาน เค็ม ขม เป็นต้น
2. สอนให้เด็กรู้จักตนเองและบุคคลในครอบครัว
 ฝึกเด็กให้รับรู้ว่าตัวเองชื่ออะไร คนไหนคือพ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นการสอนให้เด็กได้
รับรู้และเข้าใจว่าบุคคลในครอบครัวมีความแตกต่างกันการสอนให้เด็กรับรู้และ
เรียนรู้ความแตกต่างของบุคคล เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อความหมายและ
สังคมในระยะแรก
3. การหันตามเสียงเรียก
 เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักชื่อของตนเอง ตอบสนองต่อเสียงเรียกชื่อตนเอง ซึ่งเป็นการ
กระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการงด้านการสื่อความหมายและมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
มากขึ้น
4. การจับมือเด็กให้ทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง
 เด็กออทิสติคส่วนมากไม่สามารถชี้บอกความต้องการได้ จึงใช้วิธีจับมือบุคคลที่
อยู่ใกล้ไปทำสิ่งนั้นแทน ผู้ฝึกจำเป็นต้องจับมือเด็กให้ทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง 
เป็นการเสริมสร้างความมั่นใจและช่วยลดปัญหาทางอารมณ์ของเด็กด้วย
5. การฝึกกิจวัตรประจำวัน
 เริ่มฝึกให้เด็กรู้จักสิ่งของเครื่องใช้ที่ต้องใช้ในการฝึกกิจกรรมนั้นก่อน จนสามารถ
หยิบจับหรือชี้สิ่งของได้ถูกจึงฝึกต่อไป กิจกรรมที่ฝึกเช่น การทำความสะอาด
ร่างกาย การฝึกแต่งกาย ฝึกการขับถ่าย การใช้ช้อนรับประทานอาหาร
6. การเล่น
 ฝึกเด็กให้รู้จักเล่นของเล่นจะเป็นการเชื่อมโยงการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ
ความหมายและปรับอารมณ์ให้ดีได้ด้วย
7. ฝึกการสื่อสารด้วยการใช้ท่าทาง
 ควรฝึกให้เด็กสามารถสื่อสารด้วยภาษาท่าทางก่อนเพื่อบอกถึงความต้องการของ
ตนเอง จากนั้นฝึกกล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับพูด เช่น เป่ากบ เป่าสำลี ดูดหลอด ฯลฯ 
และฝึกพูดต่อไป(อ่านเพิ่มเติมในคู่มือฝึกพูดเด็กออทิสติคสำหรับผู้ปกครอง)
8. การรับรู้การแสดงออกทางสีหน้า
 ฝึกให้เด็กสามารถรับรู้อารมณ์และความต้องการ เพื่อให้เด็กอยู่ในสังคมนอกบ้าน
ได้อย่างเหมาะสม(อ่านเพิ่มเติมในคู่มือดูแลเด็กออทิสติคสำหรับผู้ปกครอง)
9. การรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยานั้นต้องอยู่ในการดูแลและจ่ายยาโดยแพทย์ ซึ่งไม่มียาที่ใช้รักษา
โรคออทิซึมโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่ถ้าจำเป็นต้องใช้ยา ก็จะเป็นการใช้ยาตามอาการ 
เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น อาการอยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ อารมณ์หุนหัน
พลันแล่น พฤติกรรมก้าวร้าว เป็นต้น โดยยาที่แพทยืจะจ่ายส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น
ตามการรักษาดังนี้
   1. พฤติกรรมผิดปกติ เช่น ทำอะไรซ้ำๆ  ไม่ยอมเผลี่ยนแปลงในสิ่งที่เคยชิน และ
ยึดติดกับวัตถุสิ่งของ ให้ haloperidol, clomipramine (Anafranil™) หรือ fluoxetine 
(Prozac™)
2. พฤติกรรมซนผิดปกติ ขาดสมาธิ และขาดการยับยั้งชั่งใจ ให้ clonidine หรือ  
imipramine ถ้ายังไม่ได้ผลให้ haloperidol ผู้ที่ไม่มีโรคทางระบบประสาทให้ 
methylphenidate
  3. อาการกระตุก ให้ haloperidol หรือ pimozide
  4. พฤติกรรมแยกตัวเอง ให้ naltrexone (opiate antagonist)
  5. อาการซึมเศร้า ให้ TCAs หรือ SSRIs อาการแมเนีย ให้ lithium
  6. พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ให้ haloperidol, carbamazepine, lithium
  7. พฤติกรรมทำร้ายตัวเองให้ naltrexone, haloperidol , trazodone
  8. อาการนอนไม่หลับ เช่นเปลี่ยนเวลานอนโดยหลับกลางวัน ลัตื่นตอนกลางคืน 
รักษาโดยเปลี่ยนวงจรของการหลับ และตื่น บางรายนอนน้อยให้ melatonin หรือ  
Benadryl รายที่เป็นมากให้  imipramine
  9. อาการหลงผิด หูแว่ว และพฤติกรรมแปลกประหลาด หรือ catatonia ให้ 
haloperidol
  10. บางคนเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วยการให้ยา Ritalin ก็สามารถให้ผลดี

วิดีโอเเสดงอาการของเด็กออทิสติก



เอกสารอ้างอิง

วงพักร์ ภู่พันธ์ศรี. จิตวิทยาเด็กพิเศษ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ  : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2545
พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์ และ สุวพิชชา  ประสิทธิธัญกิจ. การศึกษาพิเศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ  : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2550
สมภพ เรืองตระกูล. ตำราจิตเวชศาสตร์.  พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ  :  โรงพิมพ์เรือนแก้ว, 2542
โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์. 2555. เทคนิคการดูแลเด็กออทิสติก[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.yuwaprasart.com
ศูนย์วิชาการแฮปปี้โฮม. 2555. ออทิสติก[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.happyhomeclinic.com/au02-autism.htm