วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Asperger's Disorder โรคแอสเพอร์เกอร์

Asperger's Disorder


         ก่อนอื่นคงต้องขออภัุยที่ห่างหายไปจากการเขียนบล็อกเป็นระยะเวลาหนึ่ง วันนี้มีโอกาสว่างๆ และมีกระเเสสังคม เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา เกี่ยวกับรายการโทรทัศน์ช่องหนึ่ง ในที่นี้ผู้เขียนขอไม่เอ๋ยนาม และไม่ขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอใดๆ และขอนำเสนอเกี่ยวกับการให้ความรู้ และ การทำให้ผู้อ่านได้รู้จัก และเข้าใจ ถึง กลุ่มบุคคลซึ่งถือได้ว่ามีความบกพร่องทางพฤติกรรม และพัฒนาการ เพื่อเป็นเเนวทางให้เราได้เข้าใจบุคคลเหล่านี้มากขึ้น และจะได้เข้าใจว่าเขาก็มีคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันกับเรา เราเองก็ควรให้เกียรติ และรักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของกลุ่มคนเหล่านี้ด้วย เสมือเหมือนเขาก็คือเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง ที่ยืนอยู่ในสังคมนี้เฉกเช่นเรา ผู้เขียนขออนุญาติที่จะไม่ วินิจฉัย (diagnose) หรือขออนุญาติ ที่จะไม่กล่าวถึงบุคคลที่สามแต่ประการใด 

      แต่ขออธิบายในเชิงการให้ความรู้ และอธิบายเกี่ยวกับโรคดังกล่าว เท่านั้น หากจะกล่าวถึง แอสเพอร์เกอร์ (Asperger's Disorder) หลายคนคงยังไม่คุ้นชินกับคำนี้ซักเท่าไหร่ หากเทียบกับ ออทิสซึม หรือ ออทิสติก (Autistic Disorder) แท้จริงแล้วแอสเพอร์เกอร์ถูกจัดรวมอยู่ในกลุ่มเดียวกับออทิสติก หรือกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการแบบรอบด้าน (Pervasive Developmental Disorder -PDDs) :ซึ่งตามเกณฑ์วินิฉัยของ DSM-TV-TR กล่าวไว้ว่าประกอบไปด้วยโรคต่างๆดังต่อไปนี้

- Autistic Disorder (Autism)
- Rett's Disorder
- Childhood Disintegrative Disorder 
- Asperger's Disorder
- Pervasive Development Disorser not otherwise specified

ในที่นี้ผู้เขียนขอกล่าวถึง Asperger's Disorder

      แอสเพอร์เกอร์ ถูกรายงานเมื่อ ค.ศ. 1940 โดยนายแพทย์ ฮานส์ แอสเพอร์เกอร์ (Hans Asperger) กุมารแพทย์ชาวออสเตรีย ที่พบว่าคนไข้ของเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้ชายมีความเฉลียวฉลาด มีระดับสติปัญญาอยุ่ในเกณฑ์ปกติ แต่กลับมีปัญหาในเรื่องของการเข้าสังคม มีพฤติกรรมหมกหมุ่น ชอบทำอะไรซ้ำซาก จำเจ ทักษะในการเข้าสังคมไม่ค่อยดีนัก แต่สามารถสนทนาสื่อสารกับผู้อื่นได้

     ในปี พ.ศ. 2548 สถาบันวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวว่า ไอน์สไตน์ และ เซอร์ไฮเซค นิวตัน 2 นักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดัง อาจเข้าข่ายในกลุ่มอาการดังกล่าวด้วยเช่นกัน เพราะไม่ชอบการเข้าสังคม  การปฏิสัมพันธืกับผู้อื่นค่อนข้างต่ำ อีกทั้งพูดกับคนอื่นไม่ค่อยรู้เรื่อง 

     ปัจจุบันในเชิงระบาดวิทยา พบผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์ ร่วมกับ PDDs ในอัตรา 1:1000 นับได้ว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น

    ในด้านสาเหตุของการเกิดโรคนั้น ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ในทางการแพทย์มึผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า น่าจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ทั้งในด้านการทำงานที่ผิดปกติของสมองและระบบประสาท รวมทั้งพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม  มีผู้เชี่ยวชาญกลุ่มหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า น่าจะเกิดจากความบกพร่องของสารพันธุกรรม ซึ่งความบกพร่องทางพันธุกรรมนี้ก็ยังบอกไม่ได้อีกเหมือนกันว่า เกิดจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่ร่น ที่ค่อยๆสะสมความผิดปกติแล้วจึงมาแสดงในรุ่นใดรุ่นหนึ่ง หรือเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่อาจยืนยันผลได้แน่ชัด ต้องใช้การศึกษาวิจัยอีกระยะหนึ่ง แต่ค่อนข้างให้น้ำหนักไปว่า ไม่น่าจะเกิดจากการเลี้ยงดู

     ทั้งนี้จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ระบุว่า เด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์ จะเริ่มแสดงอาการออกมาให้เห็นตั้งแต่ อายุ 3 ขวบ และจะสามารถสังเกตให้เห็นได้เด่นชัดในช่วงวัย ระหว่างอายุ 5-9 ปี โรคนี้จะไม่แสดงออกทางรูปร่างหน้าตา แต่จะแสดงออกมาในรูปของพฤติกรรมที่มีความบกพร่อง 3 ด้าน คือ

     1. ด้านภาษา 
         
         - เด็กจะสามารถใช้ภาษาสื่อสารกับคนปกติได้เฉกเช่นเด็กปกติ แต่จะมีปัญหาบางในเรื่องที่เข้าใจในเรื่องที่พูด โดยเฉพาะคำพูดในเชิงเปรียบเปรย กำกวม มุขตลก คำประชดประชัน เสียดสี เด็กจะไม่ค่อยรู้สึกยินดียินร้ายกำคำเหล่านั้น เพราะเขาอาจไม่เข้าใจ ก็เป็นได้
     
        - จะชอบพูกเรื่องตัวเอง มากกว่าการพูดเรื่องผู้อื่น พูดในเรื่องนั้น ซ้ำๆ บ่อยๆ และใช้คำพูดที่ค่อนช้างเหมือนเดิม 
     
       - ไม่รู้จักการทักทาย จะพูดอะไรค่อนข้างโพล่งผาง พูดโดยไม่มีการเกริ่นนำ ไม่มีที่มาที่ไป

       - มักมีปัญหาในทักษะด้านการเขียน การอ่าน และ ทักษะทางคณิศาสตร์ 

2. ด้านสังคม 

     - ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่สนใจคนรอบข้าง

     - เข้ากับผู้อื่นไม่ค่อยได้

     -  มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับคนอื่นอย่างไม่เหมาะสมกับวัย ไม่รู้จักกาละเทศะ มารยาททางสังคมน้อย

     - เมื่อพูดกับผู้อื่นจะไม่ค่อยสบตา ไม่มองหน้า

    - ไม่แสดงออกถึงความรู้สึกอยากร่วมสนุก ไม่ยินดียินร้ายกับการเข้าร่วมงานกับผู้อื่น 

   - ไม่มีอารมณ์ หรือการตอบสนองเชิงสัมพันธภาพกับผู้อื่น

   - ขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เฉยชา และบางรายอาจมีพฤติกรรมสุดโต่ง หรือบางรายอาจมีความอ่อนไหวง่าย

3. ด้านพฤติกรรม

   - ชอบทำอะไรซ้ำๆ หมกมุ่น สนใจเฉพาะเรื่องที่ตนสนใจ โดยเฉพาะเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน อย่างเข่น แผนที่โลก วงจรไฟฟ้า ยี่ห้อรถ ไดโนเสาร์ ธงชาติประทศต่างๆ ดนตรีคลาสิก เป็นต้น ซึ่งถ้าเขาสนใจในเรื่องนั้นแล้ว จะสนใจอย่างเอาจริงเอาจัง และค่อนข้างรู้ลึกรู้จริง

  - เปลี่ยนแปลงความสนใจได้ง่าย ในบางรายมีความไวต่อสิ่งเร้าภายนอกค่อนข้างสูง สมาธิสั้น

 - ท่วงท่าในการเดิน งุ่มง่าม ไม่คล่องตัว 

-  อาจมีการพูดหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น ท่านข้าวร้านนี้แล้วไม่อร่อย เมือเด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์ดังกล่าวเดินผ่านร้านนี้ ก็จะพูดออกมาโดยไม่สนใจ พูดออกมาตรงๆ ไม่อ้อมค้อม  ว่า "ข้าวร้านนี้ไม่อร่อย" เป็นต้น

    อย่างไรก็ดี เด็กที่มีภาวะของแอสเพอร์เกอร์ จะมีระดับสติปัญญาดี มีความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองในเรื่องชีวิตประจำวันได้ในระดับที่น่าพอใจ เพียงแต่บางรายอาจมีสมาธิสั้น แต่โดยรวมในเรื่องสติปัญญาปกติ และค่อนข้างดีกว่าปกติในบางรายด้วยซ้ำ

ส่วนความแตกต่างระหว่างแอสเพอร์เกอร์ และ ออทิสติก

แม้ว่าแอสเพอร์เกอร์ และออทิสติกจะเป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันแต่ก็มีข้อเหมือน และแตกต่างที่พอจะสรุปให้เห็นได้ดังนี้ 


  จากข้อแตกต่างข้างต้นดังตาราง กล่าวได้ว่า ในด้านภาษาเด็ก 2 กลุ่มจะมีความเเตกต่างกัน ในเรื่องการสื่อสาร แอสเพอร์เกอร์สามารถสื่อสารได้ค่อนข้างดีกว่าเด็กออทิสติก อีกทั้งในเรื่องเรื่องของสติปัญญาเด็กแอสเพอร์เกอร์จะมีสติปัญญาในเกณฑ์ปกติ หรือดีกว่าด้วยซ้ำหากเทียบกับออทิสติกที่อาจระดับสติปัญญาต่ำกว่า 

    การประเมิน และคัดกรองโรค 

    แม้จะกล่าวได้ว่าแอสเพอร์เกอร์เป็นโรคที่เป็นมาแต่กำเนิดก็ตาม แต่ในช่วงเด็กเล็กจะค่อนข้างที่จะประเมินได้ยาก อีกทั้งเป็นเรื่องยากที่พ่อแม่จะสังเกตเห็นความแตกต่างหากถ้าไม่คุ้นชิน หรือพบข้อแตกต่างที่ชัดเจน เพราะในช่วงเด็กเล็กๆ ก็ไม่มีสิ่งบ่งชี้ใดๆ เพราะแลเหมือนว่าเด็กปกติทั่วไป อาจมีเพียงข้อสงสัยบางประการที่อาจสังเกตได้เช่น เด็กไม่ค่อยอยากให้อุ้ม เด็กไม่ค่อยตอบสนอง ไม่ชอบสบตา ไม่ยิ้ม หรือแสดงทีท่าดีใจเวลามีคนมาเล่นด้วย บางครั้งพ่อแม่อาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติของเด็กบางคนที่อาจมีความแตกต่างจากเด็กอื่นในวัยเดียวกัน เว้นแต่จะเห็นความแตกต่าง หรือมองเห็นปัญหาอย่างชัดเจน และตั้งข้อสงสัยในความผิดปกตินั้นๆ จึงพามาพบแพทย์ 
    แท้จริงแล้วเมื่อพ่อแม่พบเห็นความผิดปกติในด้านพฤติกรรม หรือมีข้อสงสัยในความผิดปกติของพัฒนาการ การนำเด็กมาขอคำปรึกษาจากแพทย์นั้น น่าจะเป็นท่าออกที่ดี เพราะแท้จริงแล้วเราสามารถพอจะคัดกรอง (screening) หรือ ให้การวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเเรกเริ่ม (early identification) ตั้งแต่ที่เราเริ่มสงสัยได้ 
    โดยเเพทย์จะใช้วิธีการในการพิจารณาประวัติในทุกด้าน ตั้งแต่เด็กยังเล็กๆ และสังเกตพฤติกกรรมบางอย่างประกอบกัน เพื่อพิจารณาว่าเข้าเกณฑ์ของแอสเพอร์เกอร์หรือไม่ประการใด เพราะหากใช่ก็จะได้รับการช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด พ่อแม่หลายคนกลัวการจะต้องรับรู้ว่าลูกเป็นอะไร จึงทำให้สูญเสียโอกาสในการให้การช่วยเหลือ 
    ในกระบวนการประเมินเบื้องต้นนั้น เเพทย์อาจใช้วิธีการตรวจเพิ่มเติม โดยอาจไปรวมไปถึงการประเมินร่วมกับทีมสหวิชาชีพ อาทิ นักจิตวิทยาพัฒนาการ นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาคลินิก หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยหากพบความผิดปกติก็อาจประเมินให้เข้ารับการช่วยเหลือ ในด้านการฝึกสมาธิ การฝึกทักษะทางสังคม ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหย่ จากนักกิจกรรมบำบัด หรือการปรับพฤติกรรม หรือรับการกระตุ้นพัฒนาการ จากนักจิตวิทยา เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเด็ก
      
     

    หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคแอสเพอร์เกอร์ 
  
    ในการวินิจฉัยโรแอสเพอร์เกอร์จะอาศัยลักษณะทางคลินิกเป็นหลัก โดยใช้หลักเกณฑ์การตรวจวินิจฉัยตามเกณฑ์ของสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder,4th edition, DSM-IV 1994) โดยมีหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคแอสเพอร์เกอร์ ไว้ดังนี้

          A. มีคุณลักษณะในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ผิดปกติ โดยแสดงออกอย่างน้อย 2 ข้อต่อไปนี้


             1. บกพร่องอย่างชัดเจนในการใช้ท่าทางหลายอย่าง (เช่น การสบตา การแสดงสีหน้า กิริยา หรือท่าทางประกอบการเข้าสังคม)

             2. ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนในระดับที่เหมาะสมกับอายุได้

             3. ไม่แสดงความอยากเข้าร่วมสนุก ร่วมทำสิ่งที่สนใจ หรือร่วมงานให้เกิดความสำเร็จกับคนอื่น ๆ (เช่น ไม่แสดงออก ไม่เสนอความเห็น หรือไม่ชี้ว่าตนสนใจอะไร)

             4. ไม่มีอารมณ์ หรือสัมพันธภาพตอบสนองกับสังคม

          B. มีพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัด ซ้ำ ๆ เป็นแบบแผน โดยแสดงออกอย่างน้อย 1 ข้อ ต่อไปนี้

             1. หมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้ำ ๆ (Stereotyped) ตั้งแต่ 1 อย่างขึ้นไป และความสนใจในสิ่งต่าง ๆ มีจำกัด ซึ่งเป็นภาวะที่ผิดปกติทั้งในแง่ของความรุนแรงหรือสิ่งที่สนใจ

             2. ติดกับกิจวัตร หรือย้ำทำกับบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีประโยชน์โดยไม่ยืดหยุ่น

             3. ทำกิริยาซ้ำ ๆ (Mannerism) (เช่น เล่นสะบัดมือ หมุน โยกตัว)

             4. สนใจหมกมุ่นกับเพียงบางส่วนของวัตถุ

          C. ความผิดปกตินี้ก่อให้กิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้านอื่น ๆ ที่สำคัญ บกพร่องอย่างมีความสำคัญทางการแพทย์          
         D. ไม่พบพัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้า อย่างมีความสำคัญทางการแพทย์          
         E. ไม่พบพัฒนาการทางความคิดที่ช้าอย่างมีความสำคัญทางการแพทย์ หรือมีความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง พฤติกรรมการปรับตัว และมีความอยากรู้เห็นในสิ่งรอบตัวในช่วงวัยเด็ก         
         F. ความผิดปกติไม่เข้ากับ พีดีดี ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านชนิดเฉพาะอื่น หรือโรคจิตเภท (Schizophrenia)



      สำหรับวันนี้ผู้เขียนคงต้องขอนำเสนอเรื่องแอสเพอร์เกอร์ไว้เพียง เท่านี้ และในคราวหน้าผู้เขียน จะนำเสนอในเรื่องของการให้ความช่วยเหลือ และวิธีการดูแลเด็กที่มีอาการของแอสเพอร์เกอร์ อย่างไรหวังว่า ทุกท่านคง เข้าใจเรื่องราวของแอสเพอร์เกอร์มากขึ้น และ คงรู้ว่าแอสเพอร์เกอร์แตกต่างกับออทิสติกอย่างไร ผู้เขียนเอง หวังว่าเมื่อเราเข้าใจถึงคนเหล่านี้เเล้ว เราจะให้โอกาส และให้ความรู้สึกที่ดีกับเขาเหล่านั้น ไม่แบ่งแยก และไม่มีอคติกับคนเหล่านั้น และควรให้โอกาสพวกเขาได้เรียนรู้ทักษะต่างๆทางสังคม ให้โอกาส มีความรู้สึกที่ดีกับพวกเขา เพราะพวกเขาก็มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ไม่แตกต่างจากเรา และเราก็ควรมีส่วนในการทำความเข้าใจ และให้ที่ยืนแก่พวกเขาด้วย เช่นกัน

     แล้วไว้พบกันในตอนต่อไป ขอขอบคุณครับ 

  

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

กลุ่มโครงสร้างของจิต (Structuralism)


(กลุ่มโครงสร้างของจิต ((Structuralism)

กลุ่มโครงสร้างทางจิต (Structuralism) หรือกลุ่มโครงสร้างนิยม ก่อตั้งโดยวิลเฮล์ม วุนต์ (Wilhelm Woundt,1832 - 1920)


                                                                              วิลเฮล์ม วุ้นต์ (Wilhelm Woundt,1832 - 1920)

กลุ่มนี้มุ่งศึกษาส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มคิดว่าเป็นโครงสร้างของจิต  และสรุปสาระแนวคิดว่ามนุษย์มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยลักษณะที่เป็นหน่วยย่อยที่เรียกว่า ธาตุทางจิตซึ่งแยกเป็น
1. การสัมผัส  (Sensation) คือการทำงานของอวัยวะรับสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง โดยการตอบ สนองต่อสิ่งเร้านั้น ๆ เช่น ตามองเห็น จมูกได้กลิ่น ฯลฯ        
2. การรู้สึก  (Feeling) คือการตีความหรือแปลความหมายของการสัมผัส เช่น การมองเห็นสิ่งเร้า  ก็ตีความหมายว่า สวย ไม่สวย หูได้ยินก็ตีความหมายว่า ไพเราะ เป็นต้น
3. มโนภาพ  (Image) คือการคิดและการวิเคราะห์ ตลอดจนการจดจำประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการสัมผัสและ รู้สึก

ทั้ง 3 อย่างนี้ประกอบเป็นพื้นฐานของจิตทำนองเดียวกับสารประกอบทางเคมี ซึ่งเกิดจากการรวมตัวเป็นสัดส่วน ของธาตุต่าง ๆกลุ่มแนวคิดโครงสร้างทางจิต ใช้วิธี การศึกษาด้วยการตรวจสอบตนเองหรือพินิจภายใน (Introspection)โดยให้เจ้าตัว บรรยายความรู้สึก หรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายในใจให้ทราบ เพราะตนเองย่อมเข้าใจความคิด ความรู้สึก การตัดสิน ใจของตนเองได้ดีกว่าผู้อื่น

วิลเฮล์ม วุ้นท์ (Wilhelm Wundt,1832-1920) นักจิตวิทยาได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดา
ของจิตวิทยาแผนใหม่เชิงวิทยาศาสตร์ วูนท์ ศึกษาโครงสร้างของจิต (Structuralism)มีความเชื่อว่า จิตประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ เหมือนกับสสาร ประกอบ ด้วยธาตุ ต่างๆ โครงสร้างของจิตมี 3 ส่วน ประกอบด้วยส่วนที่ 1 ความรู้สึก (Feeling)  ส่วนที่ 2 ประสาทสัมผัส (Sensation) และส่วนที่ 3 มโนภาพ (Image)
การศึกษาทดลองของวูนท์ใช้วิธีการสำรวจตัวเอง (Introspection) ใช้การทดลองโดยใช้
สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้น เช่นไฟฟ้าสีระดับเสียงสูงและตํ่ากลิ่นอุณหภูมิความร้อนความหนาวเป็นต้น
ผู้ถูกทดลองจะเป็นผู้เล่ารายละเอียด ความรู้สึก ประสาท สัมผัส และมโนภาพ จากประสบการณ์
ที่ตนได้รับจากการทดลองว่าความรู้สึกอย่างไรเมื่อได้รับสิ่งเร้าต่างๆเป็นตัวกระตุ้นซึ่งต้องอาศัย
ประสบการณ์ ของแต่ละคน ที่มีอยู่เดิม


เนื้อหาหลัก
เป้าหมายการศึกษา
วิธีการค้นคว้า
ทัศนะต่อมนุษย์
สิ่งที่เน้น
ประสบการณ์จิตสำนึก
แยกดูเพื่อรู้จักธาตุจิต
ผัสสะ  ความรู้สึก และมโนภาพ
ตรวจสอบจิตใจตนเอง
Introspection
กลาง
บุคคล

WILHELM MAX WUNDT (..๑๘๓๒ - ๑๙๒๐) กลุ่มนี้ใช้วิธีการศึกษาแบบตรวจสอบจิตตนเอง (INTROSPECTION)  และการทดลองควบคู่กันโดยพิจารณาความรู้สึกหรือความคิดของตนเอง กลุ่มนี้มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่จิตสำนึกของมนุษย์และเห็นว่าโครงสร้างของจิตนั้นประกอบด้วย MENTAL ELEMENT ๓ ชนิดคือ ความรู้สึก (FEELING) การสัมผัส (SENSATION) และมโนภาพ (IMAGE)  ทั้ง ๓ สิ่งนี้เมื่อรวมกันภายใต้สถานการณ์ที่เหมาะสมก็จะก่อให้เกิดรูปจิตผสมขึ้นเช่น ความคิด อารมณ์ ความจำ การหาเหตุผล ฯลฯ
แนวความคิดจิตวิทยากลุ่มต่าง ๆ ดังกล่าวต่างก็มีบทบาทในการศึกษาเพื่ออธิบายพฤติกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  แต่ลำพังวิชาจิตวิทยาอย่างเดียวมิได้ทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ได้แจ่มแจ้งแต่เป็นเพียงพื้นฐานเป็นรากฐานในการศึกษาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง       แท้จริงแล้วปัจจุบันนี้การค้นคว้าศึกษาวิชาจิตวิทยาไม่อาจยึดปรัชญาแนวความคิดของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะได้ จำเป็นต้องนำแนวความคิดและวิธีการจากทุกกลุ่มหรือบางกลุ่มผสมผสานกัน อาจมากบ้างน้อยบ้างตามแต่พฤติการณ์และสถานการณ์จะอำนวย จะเห็นได้ว่ากลุ่มแนวความคิดทางจิตวิทยาบางกลุ่มมีความเชื่อความคิดเห็นขัดแย้งกันเอง   จึงเป็นการยากที่จะตัดสินใจรับเอาแนวความคิดของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะมาใช้ให้ได้ดีได้ HILGARD นักจิตวิทยาคนสำคัญกล่าวว่าอย่าไปพยายามค้นหาทฤษฎีทางจิตวิทยาที่ถูกต้องที่สุดให้เสียเวลาเปล่า ๆ เพราะแม้จะใช้ความพยายามเท่าใดก็ไม่อาจหาพบได้ ในเมื่อแต่ละกลุ่มต่างยืนยันว่าความคิดของกลุ่มตนถูกต้อง วิธีการที่ดีและเหมาะสมที่สุดคือ ศึกษาแนวความคิดของทุกกลุ่มอย่างละเอียดลึกซึ้งแล้วเลือกเอามาแต่ส่วนที่เห็นได้ชัดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ที่สุดภายใต้สถานการณ์ที่เราต้องเผชิญ
วิชาจิตวิทยานั้นมีสาขากว้างขวางมากเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการมีมาเป็นลำดับ ทำให้ผู้ที่ศึกษาไปแล้วมีความสนใจความถนัดด้านใดมากก็จะค้นคว้าพัฒนาในเรื่องนั้น ๆ อย่างละเอียดทำให้เกิดวิชาจิตวิทยาสาขาใหม่ ๆ ขึ้นได้ วิทยาทั่วไป จิตวิทยาสรีรศาสตร์ (PHYSIOLOGICAL PSYCHOLOGY)  จิตวิทยาอปกติ (ABNORMAL PSYCHOLOGY) จิตวิทยาพัฒนาการ (DEVELOPMENTAL PSYCHOLOGY) ซึ่งแบ่งออกเป็นจิตวิทยาพันธุกรรม (GENETICS) จิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาวัยรุ่น   ต่อมาก็มีจิตวิทยาเปรียบเทียบ จิตวิทยาการทดลอง จิตวิทยาธุรกิจ  จิตวิทยาการศึกษา  จิตวิทยาคลินิก  จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาความมั่นคง   จิตวิทยาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล สำหรับทหารนั้นก็มีจิตวิทยาทหาร ซึ่งประเทศบางประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้ความสนใจมาโดยตลอด เช่นประเทศเยอรมันมีหน่วยจิตวิทยาทหารเรียกว่า   MILITARY PSYCHOLOGY อยู่ในกองทัพบกตั้งแต่ ค..๑๙๒๙ส่วนประเทศอังกฤษมีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเล็กน้อยมีการจัดในระดับกรมในกองทัพบกอังกฤษเรียกว่า DIRECTORATE OF ARMY PSYCHIATRY สำหรับสหรัฐอเมริกาก็เช่นเดียวกับอังกฤษแต่มีกิจการใหญ่โตกว้างขวางกว่าอังกฤษและเยอรมันมากเรียกว่า MILITARY PSYCHIATRY  หน่วยงานจิตวิทยาทหารดังกล่าวทำหน้าที่แต่เริ่มเข้าร่วมในการคัดเลือกนายทหารสัญญาบัตร     และการตรวจคัดเลือกกำลังพลประเภทอื่น ๆ ตลอดจนรับปรึกษาตรวจและบำบัดรักษาผู้ที่ป่วยเป็นโรคจิต ป้องกันและศึกษาหาสาเหตุตลอดจนวิธีการเกี่ยวกับขวัญของทหารเป็นต้น เพราะบุคคลที่มีอาชีพเป็นทหารไม่ว่าจะโดยถูกเกณฑ์หรืออาสาสมัครเข้ามาก็ตามแม้ในยามปกติงานก็มีลักษณะตรากตรำเหน็ดเหนื่อยต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละและต้องเผชิญหรือเสี่ยงอันตรายเสมออยู่แล้ว  สำหรับในเวลาสงครามนั้นความเสี่ยงก็อยู่ในขั้นวิกฤติเป็นหลายเท่าของเวลาปกติความบีบคั้นทางร่างกายแม้อาจจะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นแต่จิตใจที่ถูกบีบคั้นอาจทรุดโทรมลงจนทำให้เสียขวัญหรือเสียวินัยและมีอาการของโรคจิตปรากฏขึ้น วงการทหารมีความสนใจในเรื่องจิตใจของทหารและวิชาจิตวิทยาอย่างจริงจังตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมา ทั้งขยายขอบเขตกว้างขวางออกไปอย่างมากและรวดเร็ว   ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองได้มีการนำวิชาจิตวิทยามาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำสงครามที่เรียกว่า  “สงครามจิตวิทยานอกเหนือไปจากการใช้หลักวิชาจิตวิทยาในการฝึกอบรม ป้องกันทหารไม่ให้เป็นโรคจิตอันเนื่องจากความวิตกกังวลใจในระหว่างการฝึก การปฏิบัติงาน การรบ และการถูกกักขัง เมื่อถูกจับเป็นเชลยศึกหรือถูกทรมาน รวมทั้งการแก้ปัญหาอื่น ๆ อีกหลายประการ

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์




ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
 ฟรอยด์ (Freud, 1856-1939) เป็นชาวออสเตรีย เป็นคนแรกที่เห็นความสำคัญของ พัฒนาการในวัยเด็ก ถือว่าเป็นรากฐานของ พัฒนาการของบุคลิกภาพ ตอนวัยผู้ใหญ่ สนับสนุนคำกล่าวของนักกวี Wordsworth ที่ว่า "The child is father of the man" และมีความเชื่อว่า 5 ปีแรกของชีวิตมีความสำคัญมาก เป็นระยะวิกฤติของพัฒนาการ ของชีวิตบุคลิกภาพของผู้ใหญ่ มักจะเป็นผลรวมของ 5 ปีแรก ฟรอยด์เชื่อว่า บุคลิกภาพของผู้ใหญ่ ที่แตกต่างกัน ก็เนื่องจากประสบการณ์ของแต่ละคน เมื่อเวลาอยู่ในวัยเด็ก และขึ้นอยู่กับว่าเด็กแต่ละคน แก้ปัญหาของความขัดแย้งของแต่ละวัยอย่างไร ทฤษฎีของฟรอยด์มีอิทธิพลทางการ รักษาคนไข้โรคจิต วิธีการนี้เรียกว่า จิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) โดยให้คนไข้ระบายปัญหาให้จิตแพทย์ฟัง
ทฤษฎีของฟรอยด์อาจจะกล่าวหลักโดยย่อดังต่อไปนี้

ฟรอยด์ได้แบ่งจิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับ คือ
1.             จิตสำนึก (Conscious)
2.             จิตก่อนสำนึก (Pre-conscious)
3.             จิตไร้สำนึก (Unconscious)

เนื่องจากระดับจิตสำนึก เป็นระดับที่ผู้แสดงพฤติกรรมทราบ และรู้ตัว ส่วนเนื้อหาของระดับ จิตก่อนสำนึก เป็นสิ่งที่จะดึงขึ้นมา อยู่ในระดับจิตสำนึก ได้ง่าย ถ้าหากมีความจำเป็นหรือต้องการ ระดับจิตไร้สำนึกเป็นระดับที่อยู่ในส่วนลึกภายในจิตใจ จะดึงขึ้นมาถึงระดับจิตสำนึกได้ยาก แต่สิ่งที่อยู่ในระดับไร้สำนึก ก็มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ฟรอยด์เป็นคนแรก ที่ได้ให้ความคิดเกี่ยวกับแรงผลักดันไร้สำนึก (Unconscious drive) หรือแรงจูงใจไร้สำนึก (Unconscious motivation) ว่าเป็นสาเหตุสำคัญของพฤติกรรม และมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของมนุษย์

ฟรอยด์กล่าวว่า มนุษย์เรามีสัญชาติญาณติดตัวมาแต่กำเนิด และได้แบ่งสัญชาติญาณออกเป็น 2 ชนิดคือ
1) สัญชาติญาณเพื่อการดำรงชีวิต (Life instinct)
2) สัญชาติญาณเพื่อความตาย (Death instinct)

สัญชาตญาณบางอย่าง จะถูกเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก ฟรอยด์ได้อธิบายเกี่ยวกับสัญชาตญาณ เพื่อการดำรงชีวิตไว้อย่างละเอียด ได้ตั้งสมมติฐานว่า มนุษย์เรามีพลังงานอยู่ในตัวตั้งแต่เกิด เรียกพลังงานนี้ว่า "Libido" เป็นพลังงานที่ทำให้คนเราอยากมีชีวิตอยู่ อยากสร้างสรรค์ และอยากจะมีความรัก มีแรงขับทางด้านเพศ หรือกามารมณ์ (Sex) เพื่อจุดเป้าหมาย คือความสุขและความพึงพอใจ (Pleasure) โดยมีส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึก และได้เรียกส่วนนี้ว่า อีโรจีเนียสโซน (Erogenous Zones) แบ่งออกเป็นส่วนต่างดังนี้
- ส่วนปาก ช่องปาก (Oral)
- ส่วนทางทวารหนัก (Anal)
- และส่วนทางอวัยวะสืบพันธุ์ (Genital Organ)

ฉะนั้น ฟรอยด์กล่าวว่าความพึงพอใจในส่วนต่างๆ ของร่างกายนี้ เป็นไปตามวัย เริ่มตั้งแต่วัยทารก จนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ
1. ขั้นปาก (Oral Stage)
2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage)
3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage)
4. ขั้นแฝง (Latence Stage)
5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage)
1) ขั้นปาก (0-18 เดือน) ฟรอยด์เรียกขั้นนี้ว่า เป็นขั้นออรอล เพราะความพึงพอใจอยู่ที่ช่องปาก เริ่มตั้งแต่เกิด เด็กอ่อนจนถึงอายุราวๆ 2 ปี หรือวัยทารก เป็นวัยที่ความพึงพอใจ เกิดจากการดูดนมแม่ นมขวด และดูดนิ้ว เป็นต้น ในวัยนี้ความคับข้องใจ จะทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า "การติดตรึงอยู่กับที่" (Fixation) ได้และมีปัญหาทางด้านบุคลิกภาพ เรียกว่า "Oral Personality" มีลักษณะที่ชอบพูดมาก และมักจะติดบุหรี่ เหล้า และชอบดูด หรือกัดอยู่เสมอ โดยเฉพาะเวลาที่มีความเครียด บางครั้งจะแสดงด้วยการดูดนิ้ว หรือดินสอ ปากกาผู้มีลักษณะแบบนี้อาจจะชอบพูดจาถากถาง เหน็บแนม เสียดสีผู้อื่น
2) ขั้นทวารหนัก (18 เดือน – 3 ปี) ฟรอยด์กล่าวว่า เด็กวัยนี้ได้รับความพึงพอใจทางทวารหนัก คือ จากการขับถ่ายอุจจาระ และในระยะซึ่งเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง และความคับข้องใจของเด็กวัยนี้ เพราะพ่อแม่มักจะหัดให้เด็กใช้กระโถน และต้องขับถ่ายเป็นเวลา เนื่องจากเจ้าของความต้องการของผู้ฝึก และความต้องการของเด็ก เกี่ยวกับการขับถ่ายไม่ตรงกันของเด็ก คือความอยากที่จะถ่ายเมื่อไรก็ควรจะทำได้ เด็กอยากจะขับถ่ายเวลาที่มีความต้องการ กับการที่พ่อแม่หัดให้ขับถ่ายเป็นเวลา บางทีเกิดความขัดแย้งมาก อาจจะทำให้เกิด Fixation และทำให้เกิดมีบุคลิกภาพนี้เรียกว่า "Anal Personality" ผู้ที่มีพฤติกรรมแบบนี้ อาจจะเป็นคนที่ชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นพิเศษ และค่อนข้างประหยัด มัธยัสถ์ หรืออาจมีบุคลิกภาพตรงข้าม คืออาจจะเป็นคนที่ใจกว้าง และไม่มีความเป็นระเบียบ เห็นได้จากห้องทำงานส่วนตัวจะรกไม่เป็นระเบียบ
3) ขั้นอวัยวะเพศ (3-5 ปี) ความพึงพอใจของเด็กวัยนี้อยู่อวัยวะสืบพันธุ์ เด็กมักจะจับต้องลูกคลำอวัยวะเพศ ระยะนี้ ฟรอยด์กล่าวว่า เด็กผู้ชายมีปมเอ็ดดิปุส (Oedipus Complex) ฟรอยด์อธิบายการเกิดของปมเอ็ดดิปุสว่า เด็กผู้ชายติดแม่และรักแม่มาก และต้องการที่จะเป็นเจ้าของแม่แต่เพียงคนเดียว และต้องการร่วมรักกับแม่ แต่ขณะเดียวกันก็ทราบว่าแม่และพ่อรักกัน และก็รู้ดีว่าตนด้อยกว่าพ่อทุกอย่าง ทั้งด้านกำลังและอำนาจ ประกอบกับความรักพ่อ และกลัวพ่อ ฉะนั้นเด็กก็พยายามที่จะเก็บกดความรู้สึก ที่อยากเป็นเจ้าของแม่แต่คนเดียว และพยายามทำตัวให้เหมือนกับพ่อทุกอย่าง ฟรอยด์เรียกกระบวนนี้ว่า "Resolution of Oedipal Complex" เป็นกระบวนการที่เด็กชายเลียนแบบพ่อ ทำตัวให้เหมือน "ผู้ชาย" ส่วนเด็กหญิงมีปมอีเล็คตรา (Electra Complex) ซึ่งฟรอยด์ก็ได้ความคิดมาจากนิยายกรีก เหมือนกับปมเอ็ดดิปุส ฟรอยด์อธิบายว่า แรกทีเดียวเด็กหญิงก็รักแม่มากเหมือนเด็กชาย แต่เมื่อโตขึ้นพบว่าตนเองไม่มีอวัยวะเพศเหมือนเด็กชาย และมีความรู้สึกอิจฉาผู้ที่มีอวัยวะเพศชาย แต่เมื่อทำอะไรไม่ได้ก็ยอมรับ และโกรธแม่มาก ถอนความรักจากแม่มารักพ่อ ที่มีอวัยวะเพศที่ตนปรารถนาจะมี แต่ก็รู้ว่าแม่และพ่อรักกัน เด็กหญิงจึงแก้ปัญหาด้วยการใช้กลไกป้องกันตน โดยเก็บความรู้สึกความต้องการของตน (Represtion) และเปลี่ยนจากการโกรธเกลียดแม่ มาเป็นรักแม่ (Reaction Formation) ขณะเดียวกันก็อยากทำตัวให้เหมือนแม่ จึงเลียนแบบ สรุปได้ว่าเด็กหญิงมีความรักพ่อ แต่ก็รู้ว่าแย่งพ่อมาจากแม่ไม่ได้ จึงเลียนแบบแม่ คือ ถือแม่เป็นแบบฉบับ หรือต้นแบบของพฤติกรรมของ "ผู้หญิง"
4) ขั้นแฝง (Latency Stage) เด็กวัยนี้อยู่ระหว่างอายุ 6-12 ปี เป็นระยะที่ฟรอยด์กล่าวว่า เด็กเก็บกดความต้องการทางเพศ หรือความต้องการทางเพศสงบลง (Quiescence Period) เด็กชายมักเล่น หรือจับกลุ่มกับเด็กชาย ส่วนเด็กหญิง ก็จะเล่น หรือจับกลุ่มกับเด็กหญิง
5) ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage) วัยนี้เป็นวัยรุ่นเริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป จะมีความต้องการทางเพศ วัยนี้จะมีความสนใจในเพศตรงข้าม ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้นของวัยผู้ใหญ่
ฟรอยด์กล่าวว่า ถ้าเด็กโชคดี และผ่านวัยแต่ละวัย โดยไม่มีปัญหาก็จะเจริญเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพปกติ แต่ถ้าเด็กมีปัญหา ในแต่ละขั้นของพัฒนาการ ก็จะมีบุคลิกภาพผิดปกติ ซึ่งฟรอยด์ได้ตั้งชื่อตามแต่ละวัย เช่น "Oral Personalities" เป็นผลของ Fixation ในวัยทารกจนถึง 2 ปี ผู้ใหญ่ที่มี Oral Personality เป็นผู้ที่มีความต้องการที่จะหาความพึงพอใจ ทางปากอย่างไม่จำกัด เช่น สูบบุหรี่ กัดนิ้ว ดูดนิ้ว รับประทานมาก มีความสุขในการกิน และชอบดื่ม คนที่มี Oral Personality อาจจะเป็นผู้ที่เห็นโลกในทางดี (Optimist) มากเกินไป จนถึงกับเป็นคนที่ไม่ยอมรับความจริงของชีวิต หรืออาจจะเป็น คนที่แสดงตนว่าเป็นคนเก่ง ไม่กลัวใคร และใช้ปากเป็นเครื่องมือ เช่น ชอบพูดเยาะเย้ย ถากถางและกระแนะกระแหนผู้อื่น
ถ้า Fixation เกิดในระยะที่ 2 ของชีวิต คือ อายุราวๆ 2-3 ปี จะทำให้บุคคลนั้น มีบุคลิกภาพแบบ Anal Personality ซึ่งอาจจะมีลักษณะต่างๆ ดังนี้
(1) เป็นคนเจ้าสะอาดมากเกินไป (Obsessively Clean) และเรียบร้อยเจ้าระเบียบ เข้มงวด และเป็นคนที่ต้องทำอะไรตามกฎเกณฑ์ เปลี่ยนแนวไม่ได้
(2) อาจจะมีลักษณะตรงข้ามเลย คือ รุงรัง ไม่เป็นระเบียบ
(3) อาจจะเป็นคนสุรุ่ยสุร่าย หรือตระหนี่ก็ได้ ผู้ชายที่แต่งงานก็คิดว่า ตนเป็นเจ้าของ "ผู้หญิง" ที่เป็นภรรยาเก็บไว้แต่ในบ้าน หึงหวงจนทำให้ภรรยาไม่มีความสุข ผู้หญิงที่มี Anal personality ก็จะหึงหวงสามีมาก จนทำให้ชีวิตสมรสไม่มีความสุข

บุคลิกภาพ : Id Ego และ Superego
Id เป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด แต่เป็นส่วนที่จิตไร้สำนึก มีหลักการที่จะสนองความต้องการของตนเองเท่านั้น เอาแต่ได้อย่างเดียว และจุดเป้าหมายก็คือ หลักความพึงพอใจ (Pleasure Principle) Id จะผลักดันให้ Ego ประกอบในสิ่งต่างๆ ตามที่ Id ต้องการ
Ego เป็นส่วนของบุคลิกภาพ ที่พัฒนามาจากการที่ทารกได้ติดต่อ หรือมีปฎิสัมพันธ์กับโลก ภายนอก บุคคลที่มีบุคลิกภาพปกติ คือ บุคคลที่ Ego สามารถที่ปรับตัวให้เกิดสมดุลระหว่างความต้องการของ Id โลกภายนอก และ Superego หลักการที่ Ego ใช้คือหลักแห่งความเป็นจริง (Reality Principle)
Superego เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่เกิดขึ้นในระยะที่ 3 ของพัฒนาการที่ชื่อว่า "Phallic Stage" เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ตั้งมาตรการของพฤติกรรมให้แต่ละบุคคล โดยรับค่านิยมและมาตรฐานจริยธรรมของบิดามารดา เป็นของตน โดยตั้งเป็นมาตรการความประพฤติ มาตรการนี้จะเป็นเสียงแทนบิดามารดา คอยบอกว่าอะไรควรทำ หรือไม่ควรทำ มาตรการของพฤติกรรมโดยมากได้มาจากกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่พ่อแม่สอนและ มักจะเป็นมาตรฐานจริยธรรม และค่านิยมต่างของพ่อแม่ ฟรอยด์กล่าวว่าเป็นผลของการปรับของ Oedipus และ Electra Complex ซึ่งนอกจาก ทำให้เด็กชายเลียนแบบพฤติกรรมของ "ผู้ชาย" จากบิดา และเด็กหญิงเลียนแบบพฤติกรรมของ "ผู้หญิง" จากมารดาแล้ว ยังยึดถือหลักจริยธรรม ค่านิยมของบิดามารดา เป็นมาตรการของพฤติกรรมด้วย
Superego แบ่งเป็น 2 อย่างคือ
1. "Conscience" ซึ่งคอยบอกให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
2. "Ego ideal" ซึ่งสนับสนุนให้มีความประพฤติดี
"Conscience" มักจะเกิดจากการขู่ว่าจะทำโทษ เช่น "ถ้าทำอย่างนั้นเป็นเด็กไม่ดี ควรจะละอายแก่ใจที่ประพฤติเช่นนั้น" ส่วน "Ego ideal" มักจะเกิดจากการให้แรงเสริมบวก หรือการยอมรับ เช่น แม่รักหนู เพราะหนูเป็นเด็กดี
ฟรอยด์ถือว่าความต้องการทางเพศเป็นแรงขับ และไม่จำเป็นจะอยู่ในระดับจิตสำนึกเสมอไป แต่จะอาจอยู่ในระดับจิตไร้สำนึก (Unconscious) และมีพลังงานมาก ความคิดของฟรอยด์เกี่ยวกับแรงขับระดับจิตไร้สำนึก เป็นประโยชน์ในการเข้าใจพฤติกรรมของคน ซึ่งปัจจุบันนี้นักจิตวิทยาส่วนใหญ่ยอมรับความคิดของฟรอยด์เกี่ยวกับ Unconscious motivation แม้ว่าจะไม่รับหลักการของฟรอยด์ทั้งหมด
ฟรอยด์กล่าวว่า พัฒนาการทางบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะขั้นวัยทารก วัยเด็ก และวัยรุ่น ระบบทั้ง 3 ของบุคลิกภาพ คือ Id, Ego และ Superego จะทำงานประสานกันดีขึ้น เนื่องจากเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือโลกภายนอกมากขึ้น ยิ่งโตขึ้น Ego ก็ยิ่งแข็งแกร่งขึ้น และสามารถที่จะควบคุม Id ได้มากขึ้น
องค์ประกอบที่มีส่วนพัฒนาการทางบุคลิกภาพมีหลายอย่างซึ่งฟรอยด์ได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
1. วุฒิภาวะ ซึ่งหมายถึงขั้นพัฒนาการตามวัย
2. ความคับข้องใจ ที่เกิดจากความสมหวังไม่สมหวัง เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
3. ความคับข้องใจ เนื่องมาจากความขัดแย้งภายใน
4. ความไม่พร้อมของตนเอง ทั้งทางด้านร่างกาย ด้านเชาวน์ปัญญา และการขาดประสบการณ์
5. ความวิตกกังวล เนื่องมาจากความกลัว หรือความไม่กล้าของตนเอง

ฟรอยด์เชื่อว่า ความคับข้องใจ เป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาการทางบุคลิกภาพ แต่ต้องมีจำนวนพอเหมาะที่จะช่วยพัฒนา Ego แต่ถ้ามีความคับข้องใจมากเกินไป ก็จะเกิดมีปัญหา และทำให้เกิดกลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) ซึ่งเป็นวิธีการปรับตัวในระดับจิตไร้สำนึก
กลไกในการป้องกันตัวมักจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของบุคคลปกติทุกวัย ตั้งแต่อนุบาลจนถึงวัยชรา
กลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) ฟรอยด์และบุตรีแอนนา ฟรอยด์ ได้แบ่งประเภทกลไกในการป้องกันตัวดังต่อไปนี้
1.             การเก็บกด (Repression) หมายถึง การเก็บกดความรู้สึกไม่สบายใจ หรือความรู้สึกผิดหวัง ความคับข้องใจไว้ในจิตใต้สำนึก จนกระทั่ง ลืมกลไกป้องกันตัวประเภทนี้มีอันตราย เพราะถ้าเก็บกดความรู้สึกไว้มากจะมีความวิตกกังวลใจมาก และอาจทำให้เป็นโรคประสาทได้
2.             การป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น (Projection) หมายถึง การลดความวิตกกังวล โดยการป้ายความผิด ให้แก่ผู้อื่น ตัวอย่าง ถ้าตนเองรู้สึกเกลียด หรือไม่ชอบใครที่ตนควรจะชอบก็อาจจะบอกว่า คนนั้นไม่ชอบตน เด็กบางคนที่โกงในเวลาสอบ ก็อาจจะป้ายความผิด หรือใส่โทษว่าเพื่อโกง
3.             การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization) หมายถึง การปรับตัว โดยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง โดยให้คำอธิบายที่เป็นที่ยอมรับสำหรับคนอื่น ตัวอย่างเช่น พ่อแม่ที่ตีลูก มักจะบอกว่า การตีทำเพื่อเด็ก เพราะเด็กต้องได้รับการทำโทษเป็นบางครั้งจะได้เป็นคนดี พ่อแม่จะไม่ยอมรับว่าตี เพราะโกรธลูก นักเรียนที่สอบตกก็อาจจะอ้างว่าไม่สบาย แทนที่จะบอกว่าไม่ได้ดูหนังสือ บางครั้งจะใช้เหตุผลแบบ "องุ่นเปรี้ยว" เช่น นักเรียนอยากเรียนแพทยศาสตร์ แต่สอบเข้าไม่ได้ ได้วิศวกรรมศาสตร์ อาจจะบอกว่าเข้าแพทย์ไม่ได้ก็ดีแล้ว เพราะอาชีพแพทย์เป็นอาชีพที่เหน็ดเหนื่อย ไม่มีเวลาของตนเอง เป็นวิศวกรดีกว่า เพราะเป็นอาชีพอิสระ "การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง" แตกต่างกับการโกหก เพราะผู้แสดงพฤติกรรมไม่รู้สึกว่าตนเองทำผิด
4.             การถดถอย (Regression) หมายถึง การหนีกลับไปอยู่ในสภาพอดีตที่เคยทำให้ตนมีความสุข ตัวอย่างเช่น เด็ก 2-3 ขวบ ที่ช่วยตนเองได้ มีน้องใหม่ เห็นแม่ให้ความเอาใจใส่กับน้อง มีความรู้สึกว่าแม่ไม่รัก และไม่สนใจตนเท่าที่เคยได้รับ จะมีพฤติกรรมถดถอยไปอยู่ในวัยทารกที่ช่วยตนเองไม่ได้ ต้องให้แม่ทำให้ทุกอย่าง
5.             การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง (Reaction Formation) หมายถึง กลไกป้องกันตน โดยการทุ่มเทในการแสดงพฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึกของตนเอง ที่ตนเองคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคม อาจจะไม่ยอมรับ ตัวอย่างแม่ที่ไม่รักลูกคนใดคนหนึ่ง อาจจะมีพฤติกรรมตรงข้าม โดยการแสดงความรักมากอย่างผิดปกติ หรือเด็กที่มีอคติต่อนักเรียนต่างชาติที่อยู่โรงเรียนเดียวกัน การจะแสดงพฤติกรรมเป็นเพื่อนที่ดีต่อนักเรียนผู้นั้น โดยทำตนเป็นเพื่อนสนิท เป็นต้น
6.             การสร้างวิมานในอากาศ หรือการฝันกลางวัน (Fantasy หรือ Day dreaming) กลไกป้องกันตัวประเภทนี้ เป็นการสร้างจินตนาการ หรือมโนภาพ เกี่ยวกับสิ่งที่ตนมีความต้องการ แต่เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นจึงคิดฝัน หรือสร้างวิมานในอากาศขึ้น เพื่อสนองความต้องการชั่วขณะหนึ่ง เป็นต้นว่า นักเรียนที่เรียนไม่ดี อาจจะฝันว่าตนเรียนเก่ง มีมโนภาพว่าตนได้รับรางวัล มีคนปรบมือให้เกียรติ เป็นต้น
7.             การแยกตัว (Isolation) หมายถึง การแยกตนให้พ้นจากสถานการณ์ที่นำความคับข้องใจมาให้ โดยการแยกตนออกไปอยู่ตามลำพัง ตัวอย่างเช่น เด็กที่คิดว่าพ่อแม่ไม่รัก อาจจะแยกตนปิดประตูอยู่คนเดียว
8.             การหาสิ่งมาแทนที่ (Displacement) เป็นการระบายอารมณ์โกรธ หรือคับข้องใจต่อคน หรือสิ่งของ ที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุของความคับข้องใจ เป็นต้นว่า บุคคลที่ถูกนายข่มขู่ หรือทำให้คับข้องใจ เมื่อกลับมาบ้านอาจจะใช้ภรรยา หรือลูกๆ เป็นแพะรับบาป เช่น อาจจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อภรรยา และลูก ๆ นักเรียนที่โกรธครู แต่ทำอะไรครูไม่ได้ ก็อาจจะเลือกสิ่งของ เช่น โต๊ะเก้าอี้เป็นสิ่งแทนที่ เช่น เตะโต๊ะ เก้าอี้
9.             การเลียนแบบ (Identification) หมายถึง การปรับตัวโดยการเลียนแบบบุคคลที่ตนนิยมยกย่อง ตัวอย่างเช่น เด็กชายจะพยายามทำตัวให้เหมือนพ่อ เด็กหญิงจะทำตัวให้เหมือนแม่ ในพัฒนาการขั้นฟอลลิคของฟรอยด์ การเลียนแบบนอกจากจะเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมือนบุคคลที่ตนเลียนแบบ แม้ยังจะยึดถือค่านิยม และมีความรู้สึกร่วมกับผู้ที่เราเลียนแบบในความสำเร็จ หรือล้มเหลวของบุคคลนั้น การเลียนแบบไม่จำเป็นจะต้องเลียนแบบจากบุคคลจริงๆ แต่อาจจะเลียนแบบจากตัวเอกในละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ โดยมีความรู้สึกร่วมกับผู้แสดง เมื่อประสบความทุกข์ ความเศร้าโศกเสียใจ หรือเมื่อมีความสุขก็จะพลอยเป็นสุขไปด้วย
กลไกในการป้องกันตัว เป็นวิธีการที่บุคคลใช้ในการปรับตัว เมื่อประสบปัญหาความคับข้องใจ การใช้กลไกป้องกันจะช่วยยืดเวลาในการแก้ปัญหา เพราะจะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด ความไม่สบายใจ ทำให้คิดหาเหตุผล หรือแก้ไขปัญหาได้

สรุปแล้วทฤษฎีของฟรอยด์ เป็นทฤษฎีที่มีอิทธิพลมากทั้งทางตรง และทางอ้อม ผู้ที่มีความเชื่อ และเลื่อมใสในทฤษฎีของฟรอยด์ ก็ได้นำหลักการต่างๆ ไปใช้ในการรักษาคนที่มีปัญหาทางบุคลิกภาพ ซึ่งได้ช่วยคนมากว่ากึ่งศตวรรษ ส่วนนักจิตวิทยาที่ไม่ใช้หลักจิตวิเคราะห์ ก็ได้นำความคิดของฟรอยด์ ไปทำงานวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางบุคลิกภาพ จึงนับว่าฟรอยด์เป็นนักจิตวิทยา ผู้มีอิทธิพลมากต่อพัฒนาการของวิชาจิตวิทยา



วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กามวิปริต(Paraphilias)

กามวิปริต (Paraphilias)

นายกุลพันธ์ เพ็ชรเพ็ง

        กามวิปริต (Paraphilias) 

       "กามวิปริต" เป็นปัญหาทางเพศแบบหนึ่ง ผู้ป่วยจะถูกกระตุ้นให้มีการตื่นตัวทางเพศได้ด้วยสิิ่่่งเร้าที่เบี่ยงเบนไปจากคนทั่วๆไปเป็นประจำ (นานกว่า ๖ เดือน) และทำให้เกิดปัญหา

กามวิปริต ประกอบไปด้วยกลุ่มโรคที่สำคัญดังต่อไปนี้

๑. Exhibitionism การเกิดอารมณ์ทางเพศโดยการอวดอวัยวะเพศให้คนแปลกหน้าดู 

๒. Fetishism การเกิดอารมณ์ทางเพศกับวัตถุที่ไม่ได้ใช้เพื่อกิจกรรมทางเพศ

๓. Frotteurism  การเกิดอารมณ์ทางเพศโดยการถูไถอวัยวะเพศกับเพศตรงข้ามที่ยังสวมใส่เสื้อผ้าอยู่และไม่ได้ยินยอม

๔. Pedophilia การเกิดอารมณ์ทางเพศกับเด็ก (อายุไม่เกิน ๑๓ ปี)

๕. Sexual masochism การเกิดอารมณ์ทางเพศเมื่อตนเองเจ็บปวดหรือเกิดความทุกข์ทรมาน

๖. Sexual sadism การเกิดอารมณ์ทางเพศโดยการทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดหรือเกิดความทุกข์ทรมาน

๗. Transvestic fetshism การเกิดอารมณ์ทางเพศโดยการสวมใส่เครื่องเเต่งกายของเพศตรงข้าม

๘. Voyeurism การเกิดอารมณ์ทางเพศโดยการแอบดูผู้อื่นเปลือยกายหรือร่วมเพศ

  Paraphilias เป็นกลุ่มของผู้ที่ไม่สามารถร่วมเพศกับเพศตรงข้าม หรือเพศเดียวกันได้ตามปกติเสมือนการร่วมเพศปกติ จึงมีการทดแทนมันด้วยความสนใจในเรื่องทางเพศอื่นๆ : ดังจะกล่าวในตอนต่อๆ ไป

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เด็กที่มีความบกพร่องชนิดออทิสซึม (Autistic Child)

เด็กที่มีความบกพร่องชนิดออทิสซึม (Autistic Child)
นายกุลพันธ์ เพ็ชรเพ็ง
นักศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาคลินิกและชุมชน คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เด็กออทิสติก (Autistic Child) คืออะไร
        เด็กออทิสติก คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการด้านการสื่อสาร ภาษา และ ด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น ภาวะอาการออทิสติก เกิดได้กับเด็กทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ทุกวัฒนธรรม และทุกสภาพครอบครัว ส่วนสาเหตุที่แน่นอนยังไม่สามารถอธิบายได้ แต่ทางการ แพทย์เชื่อว่า ภาวะอาการออทิสติก อาจเกิดจากพัฒนาการที่ผิดปกติจากการผสมผสานการรับรู้ความรู้สึก และการเคลื่อนไหว จึงทำให้มีพฤติกรรมที่ผิดปกติ
ประวัติความเป็นมา
        ปี ค.ศ.1943 มีการรายงานผู้ป่วยครั้งแรก โดยนายแพทย์ลีโอ แคนเนอร์ (Leo Kanner) จิตแพทย์ สถาบันจอห์น ฮอปกินส์ รายงานผู้ป่วยเด็กจำนวน 11 คน ที่มีอาการแปลกๆ เช่น พูดเลียนเสียง พูดช้า สื่อสารไม่เข้าใจ ทำซ้ำๆ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่สนใจคนอื่น เล่นไม่เป็น และได้ติดตามเด็กอยู่ 5 ปี พบว่าเด็กเหล่านี้ต่างจากเด็กปัญญาอ่อน จึงเรียกชื่อเด็กที่มีอาการเช่นนี้ว่า “ออทิสซึม” (Autism)
       ปี ค.ศ.1934 นายแพทย์ ฮานส์ แอสเพอร์เกอร์ (Hans Asperger) กุมารแพทย์ ชาวออสเตรีย พูดถึงเด็กที่มีลักษณะเข้าสังคมลำบาก หมกมุ่นอยู่กับการทำอะไรซ้ำๆ ประหลาดๆ แต่กลับพูดเก่งมาก และดูเหมือนจะฉลาดมากด้วย แต่ว่าแอสเพอร์เกอร์ ถูกวิกฤตหลังสงครามโลกครั้งที่สองกลืนหายจนหมดซุ่มเสียง ไม่มีใครสานต่องานวิจัยออทิสซึมในความหมายของแอสเพอร์เกอร์ คล้ายคลึงกับของแคนเนอร์มาก นักวิจัยรุ่นหลังจึงสรุปว่า หมอ 2 คนนี้พูดถึงเรื่องเดียวกัน แต่ในรายละเอียดที่แตกต่างกัน ซึ่งในปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน คือ ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน (Pervasive Developmental Disorders)

ระบาดวิทยา (epidemiology)
— - โรคออทิซึม พบได้ 4-5 : 10,000 ตามเกณฑ์การวินิจฉัย DSM IV และ 21 : 10,000 ตามการวินิจฉัยแบบ Autistic Spectrum
— - พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4 เท่า (ในไทยพบเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 3.3 เท่าโดยในเด็กหญิงมักมีความรุนแรงมากกว่าเด็กชาย  
 —- มีโอกาสเกิดโรคในพี่น้องของเด็กออทิสติกร้อยละ  3-7
 - พบในทุกเชื้อชาติ และเศรษฐานะ
 - ส่วนใหญ่มีความบกพร่องทางสติปัญญาร่วมด้วย โดยพบภาวะปัญญาอ่อนระดับรุนแรงร้อยละ 50 ระดับน้อยถึงปานกลางร้อยละ 30 และไม่พบภาวะปัญญาอ่อนร้อยละ 20

เกณฑ์การวินิจฉัย (Diagnostic criteria.)
       เกณฑ์การวินิจฉัยโรคออทิสติก ตามคู่มือการวินิจฉัยโรค DSM-IV โดยสมาคมจิตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Psychiatric Association's Diagnostic and Statistic Manual of Mental Disorder - Forth Edition, 1994) จัดโรคออทิสติก (Autistic Disorder) อยู่ในกลุ่ม “Pervasive Developmental Disorders” ซึ่งก็คือ มีความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน แสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ก่อให้เกิด พัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และการสื่อสาร ไม่เป็นไปตามปกติ มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ผิดปกติ
       กำหนดหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยออทิสติกดังนี้
A. เข้าเกณฑ์ต่อไปนี้ 6 ข้อหรือมากกว่า จากหัวข้อ (1) (2) และ (3) โดยอย่างน้อยต้องมี 2 ข้อ จากหัวข้อ (1) และจากหัวข้อ (2) และ (3) อีกหัวข้อละ 1 ข้อ
1. มีคุณลักษณะในการเข้าสังคมที่ผิดปกติ โดยแสดงออกอย่างน้อย 2 ข้อต่อไปนี้
1.1. บกพร่องอย่างชัดเจนในการใช้ท่าทางหลายอย่าง (เช่น การสบตา การแสดงสีหน้า กิริยาหรือท่าทางประกอบการเข้าสังคม)
1.2. ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนในระดับที่เหมาะสมกับอายุได้
1.3. ไม่แสดงความอยากเข้าร่วมสนุก ร่วมทำสิ่งที่สนใจ หรือร่วมงานให้เกิดความสำเร็จกับคนอื่นๆ (เช่น ไม่แสดงออก ไม่เสนอความเห็น หรือไม่ชี้ว่าตนสนใจอะไร)
1.4. ไม่มีอารมณ์หรือสัมพันธภาพตอบสนองกับสังคม
2. มีคุณลักษณะในการสื่อสารผิดปกติ โดยแสดงออกอย่างน้อย 1 ข้อต่อไปนี้
2.1. พัฒนาการในการพูดช้าหรือไม่มีเลย โดยไม่แสดงออกว่าอยากใช้การสื่อสารวิธีอื่นมาทดแทน (เช่น แสดงท่าทาง)
2.2. ในรายที่มีการพูดได้ ก็ไม่สามารถเริ่มพูดหรือสนทนาต่อเนื่องกับคนอื่นได้
2.3. ใช้คำพูดซ้ำหรือใช้ภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจ
2.4. ไม่มีการเล่นสมมติที่หลากหลาย คิดเองตามจินตนาการ หรือเล่นเลียนแบบสิ่งต่างๆ ตามสมควรกับพัฒนาการ
3. มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัด ใช้ซ้ำ และรักษาเป็นเช่นเดิม โดยแสดงออกอย่างน้อย 1 ข้อ ต่อไปนี้
3.1. หมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้ำๆ (stereotyped) ตั้งแต่ 1 อย่างขึ้นไป และความสนใจในสิ่งต่างๆมีจำกัด ซึ่งเป็นภาวะที่ผิดปกติทั้งในแง่ของความรุนแรงหรือสิ่งที่สนใจ
3.2. ติดกับกิจวัตร หรือย้ำทำกับบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีประโยชน์โดยไม่ยืดหยุ่น
3.3. ทำกิริยาซ้ำๆ (mannerism) (เช่น เล่นสะบัดมือ หมุน โยกตัว)
3.4. สนใจหมกมุ่นกับเพียงบางส่วนของวัตถุ
B. มีความช้าหรือผิดปกติในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ ก่อนอายุ 3 ปี
(1) ปฏิสัมพันธ์กับสังคม
(2) ภาษาที่ใช้สื่อสารกับสังคม
(3) เล่นสมมติหรือเล่นตามจินตนาการ
C. ความผิดปกติไม่เข้ากับ Rett's Disorder หรือ Childhood Disintegrative Disorder ได้ดีกว่า
กุญแจสำคัญ ที่เป็นตัวทำนาย โรคออทิสติก ในเด็กอายุ 18 เดือนขึ้นไป มี 4 อาการหลัก ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติเหล่านี้ตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป ควรนึกถึงโรคออทิสติก และควรมีการดำเนินการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค และให้ความช่วยเหลืออย่างทันที อาการดังกล่าว คือ
•  เล่นสมมติ เล่นจินตนาการไม่เป็น (lack of pretend play)
•  ไม่สามารถชี้นิ้วบอกความต้องการได้ (lack of protodeclarative pointing)
•  ไม่สนใจเข้ากลุ่ม หรือเล่นกับเด็กคนอื่น (lack of social interest)
•  ไม่มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความสนใจร่วมกับคนอื่นได้ (lack of joint attention)

สาเหตุของภาวะ/โรคออทิสซึม 
        มีความพยายามในการศึกษาถึงสาเหตุของโรคออทิสติก แต่ยังไม่ทราบสาเหตุของความผิดปกติที่ชัดเจน ในปัจจุบันมีหลักฐานสนับสนุนว่าน่าจะเกิดจากการทำงานของสมองผิดปกติ มากกว่าเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม
ในอดีตเคยเชื่อว่าโรคออทิสติก เกิดจากการเลี้ยงดูในลักษณะที่เย็นชา (refrigerator) แต่จากหลักฐานข้อมูลในปัจจุบันยืนยันได้ชัดเจนว่า รูปแบบการเลี้ยงดูไม่เกี่ยวข้องกับการเกิด
โรคออทิสติก
ปัจจัยทางชีววิทยา (biological factor) ที่พบว่าเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคออทิสติก จากการรวบรวมข้อมูลงานวิจัยต่างๆ มีดังนี้
1. ด้านพันธุกรรม  (Genetic Factor)
  ก. ร้อยละ 2-6  ของพี่น้องผู้ป่วยเป็นโรคนี้ด้วย และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับอัตราการเป็น
โรคนี้ในเด็กโดยทั่วไปแล้ว จะสูงกว่าพบในเด็กทั่วไปถึง 50 เท่า
  ข. จากการศึกษาคู่แฝด พบว่าคู่แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน ถ้าคนหนึ่งเป็นโรค อีกคนจะ
มีโอกาสเป็นด้วยถึงร้อยละ 36-60 ในขณะที่คู่แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ ถ้าคนหนึ่งเป็น 
โรค อีกคนจะไม่เป็น
  ค. การศึกษากลุ่มตัวอย่างโดยเอาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการรับรู้การเข้าใจ (cognition
มารวมด้วย พบว่าร้อยละ 92 ของคู่แฝดจากไข่ใบเดียวกันจะเป็นทั้งโรคนี้ และโรคที่เกิด
จากความผิดปกติของการรับการเข้าใจ ในขณะที่คู่แฝดจากไข่คนละใบมีโอกาสเป็นเพียง
ร้อยละ10
  ง. ศึกษาโครโมโซม และวิเคราะห์ความเชื่อมโยง (chromosome study and linkage 
analysis) พบว่าเกี่ยวข้องกับ โครโมโซม 15q 11-13, โครโมโซม 7q และโครโมโซม 16p
2. ด้านเภสัชวิทยาระบบประสาท (Neuropharmacological Study)
พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับสารเคมีสื่อประสาท ซีโรโทนิน (serotonin) โดยมีระดับในเกล็ด
เลือดสูงขึ้น แต่ยังไม่สามารถอธิบายเหตุผลที่ชัดเจนได้ ว่าเกิดจากอะไร
3. คลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography - EEG)
พบว่ามีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมอง มากกว่าประชากรปกติ แต่ไม่พบลักษณะ
จำเพาะที่อธิบายความผิดปกติของการทำงานของสมองได้
4. ภาพฉายระบบประสาท (Neural Imaging)
พบความผิดปกติหลากหลายรูปแบบ แต่ยังคลุมเครืออยู่ ไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจน เช่น
cerebellar vermis hypoplasia or hyperplasia, third ventricle ใหญ่ , caudate เล็ก , right
 anterior cingulate gyrus เล็ก
5. พยาธิวิทยาระบบประสาท (Neuropathological Study)
ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่จากหลายการศึกษาพบว่าเกี่ยวข้องกับจำนวน Purkinje cell
ที่ลดลง
6. การศึกษาปริมาตรของสมอง (Study of Brain Volume)
พบว่ามีปริมาตรของสมองเพิ่มขึ้น ยกเว้นสมองส่วนหน้า (frontal lobe) และพบว่าเส้นรอบ
วงของศีรษะ (head circumference) ปกติในตอนแรกเกิด แล้วเริ่มมากผิดปกติในช่วงวัยเด็ก
ตอนต้นถึงตอนกลาง
7. มารดามีโรคแทรกซ้อนก่อนคลอด และระหว่างคลอด
พบว่าบุคคลที่เป็นออทิสติกจำนวนมากเป็นโรคของสมองด้วย เช่น cerebral palsy, 
congenital rubella, toxoplasmosis, tuberous sclerosis, cytomegalovirus infection, lead 
encephalopathy, meningitis, encephalitis, cerebral hemorrhage, epilepsy โรคของสมอง 
หรือโรคที่เป็นมาแต่กำเนิดโดยกล่าวหลายโรค เป็นผลมาจากภาวะแทรกซ้อนของมารดา
ซึ่งเกิดคลอด และระหว่างคลอด รวมทั้งโรคแทรกซ้อนของเด็กแรกเกิดด้วยได้มีข้อ
สันนิษฐานว่าเด็กซึ่งเป็นโรคนี้มาแต่กำเนิด สมองได้รับบาดเจ็บในระยะก่อนคลอด และ
ระหว่างคลอด ส่วนเด็กที่มีพัฒนาการปกติมาระยะหนึ่งแล้วจึงเป้นโรค สมองจะได้รับบา
เจ็บภายหลังคลอด
8. ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
ได้มีรายงานวิจัยพบว่าระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยมีความผิดปกติหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
  1. ประสิทธิภาพของ natural killer cell ลดลงชัดเจนในร้อยละ 40 ของผู้ป่วย
  2. ความเข้มข้นของ  Complement C 4B protein ในพลาสมา ของผู้ป่วยทั้ง 42 ราย ต่ำผิด
ปกติ
  3. พบว่าในผู้ป่วย 13 ราย จาก 17 ราย การตอบสนองของระบบภุมิคุ้มกันต่อ human basic
 protein (ส่วนหนึ่งของ myelin) ถูกยับยั้ง ผู้วิจัยได้เสนอข้อสันนิษฐาน่าผู้ป่วยมี  
 autoimmune ต่อ brain antigen  และได้รับการสนับสนุนจากรายงานการวิจัยพบว่า ผู้ป่วย
ในโรคนี้ 19 ราย จาก 33 ราย มี antibodies ต่อ myelin basic protein เพิ่มขึ้นสูงกว่ากลุ่มคน
ปกติถึง 6 เท่าผลการตรวจตังกล่าวบ่งชี้ว่าประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งถูกยับยั้ง
autoimmune mechanism หรือคามผิดปกติของการควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมี
ความสัมพันธ์กับสาเหตุของโรคนี้
9. โรคของระบบประสาท 
พบว่าร้อยละ 30-50 จองผู้ป่วยมีความผิดปกติของระบบประสาท อาการ
ดังต่อไปนี้
  1. hypotonia or  hypertonic 2. disturbance of body schema 3. clumsiness  
4. choreiform movement 5. pathological reflexes 6. myoclonus 7. drooling 
8. abnormal posture and gait 9. dystonia 10.tremor 11. ankle clonus 
12. facial palsy 13. strabismus  
อาการทั้งหมดนี้เป็นมาจากความผิดปกติของ basal ganglia โดยเฉพาะที่ 
neostriatum และส่วนของสมองบริเวณ  medial aspects  ของ frontal lobe หรือ 
limbic system

อาการทางคลินิก Clinical symptoms.
  ลักษณะสำคัญของคือผู้ป่วยไม่สามารถติดต่อสื่อ และสื่อความหมายกับผู้อื่น
 ทำให้ต้องอยู่ลำพังในโลกของตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถใช้กิริยาท่าทางเพื่อสื่อความ
หมายในการติดต่อกับผู้อื่น เช่นการสบตา การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง ทำให้
ขาดความสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ไม่สนใจที่จะร่วมกิจกรรม ขาดอารมณ์ตอบสนองต่อ
ปฏิกิริยาที่ได้รับ เช่นไม่ชอบเล่นกับผู้อื่น แต่ละชอบเล่นอยู่เพียงลำพัง หรืออาจเข้า
ร่วม แต่จะดูเหมือนหุ่นยนต์ ไม่รับรู้ความเป็นไปเป็นของผู้อื่น รวมทั้งไม่เข้าใจ
ความต้องการ หรือความทุกข์ใจของผู้อื่น
  
ความผิดปกติของการสื่อความหมายมักเป็นรุนแรง และเป็นนาน โดยจะเกิดกับ
ทักษะที่เกี่ยวกับการพูด และไม่เกี่ยวกับการพูด โดยพัฒนาการทางพูดจะช้า หรือ
ไม่มีเลย ผู้ป่วยที่พูดได้จะไม่สามารถเริ่มต้น หรือร่วมสนทนากับผู้อื่นได้ หรือบาง
รายอาจพูดซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ หรือคิดคำพูดมาเองโดยที่ผู้อื่นไม่รู้เรื่อง(neologism
ลักษณะการพูดจะผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นระดับเสียง จังหวะ หรือการเน้นคำ โดยจะ
พูดไปเรื่อยๆ และระดับเสียงเสมอกัน (monotonous
คำพูดผิดไวยากรณ์ พูดซ้ำๆ ใช้คำสัมผัส หรือพูดความคำโฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ 
ผู้ป่วยอาจไม่เข้าใจคำถาม คำบอกเล่า หรือเรื่องราวขำขันง่ายๆ จะไม่มีการเล่นตาม
จินตนาการเหมือนเด็กปกติ รวมทั้งไม่เข้าใจการเล่นบทบาทเลียนแบบ  บางครั้ง
จะสนใจอยู่กับบางกิจกรรมนานๆ หรือหมกมุ่นอยู่กับส่วนหนึ่งส่วนใดของวัตถุ
สิ่งของ มีท่าทางกิริยาแปลกๆ คิดเป็นนิสัย อาจครุ่นคิดเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นพิเศษ  
จะไม่ยอมให้ใครมาเปลี่ยนแปลงวิธีคิดของตน  และจะต่อต้าน หรือรู้สึกไม่
สบายใจต่อการเปลี่ยนแปลง  เช่น เด็กเล็กเกิดความตกใจกลัวอย่างรุนแรงต่อการ
เปลี่ยนผ้าม่านในห้อง หรือถูกเปลี่ยนที่นั่งรับประทานอาหาร มักยึดติดการกระทำ
เดิมๆ โดยขาดเหตุผล เช่น เดินทางไปโรงเรียนทางเดิมทุกวัน ไม่ยอมเปลี่ยนเส้น
ทาง 
อาการอื่น และโรคที่พบร่วมด้วย
   ผู้ที่เป็นออทิสติกส่วนใหญ่จะมีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าปกติ (IQ 35-50) ร้อยละ 
75 มีความสามารถเท่ากับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อาจมีความผิดปกติ
ของพัฒนาการเกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถเรียนรู้ทางด้านต่างๆ จะไม่เท่ากัน  
บางมีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ซนผิดปกติ สมาธิสั้น ขาดการยับยั้งใจ (impulsivity
ก้าวร้าว ทำร้ายตัวเอง การตอบสนองต่อสิ่งเร้าบางอย่าง เช่น ทนต่อความเจ็บปวด 
มีปฏิกิริยาไวต่อแสง เสียง การสัมผัส หรือกลิ่น บางรายอาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับ
การรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารบางชนิด หรือสิ่งซึ่งไม่ใช่อาหาร 
(pica) เช่น สี เชือก ผม ใบไม้ เป็นต้น อารมณ์ผิดปกติ เช่น หัวเราะ หรือร้องไห้โย
ไม่มีเหตุผล  และขาดการตอบสนองงต่อสิ่งเร้า อาจไม่มีความกลัวเมื่อประสบ
อันตราย  หรือกลัวมากต่อสิ่งที่ไม่เป็นอันตราย บางรายอาจทำร้ายตัวเอง เช่น เอา
ศีรษะโขกกับพื้น  กัดนิ้ว กัดข้อมือ
แนวทางการดูแลเด็กออทิสติก

การดูแลเด็กออทิสติค เป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมเพื่อดึงเด็กออกจากโลกตนเองมา
สู่สังคมในบ้าน ก่อนจะออกไปสู่สังคมนอกบ้าน เข้าสู่โรงเรียนและชุมชนต่อไป 
แนวทางการดูแลที่สำคัญมีดังนี้
1.นำเด็กออกจากโลกของตัวเองสู่สังคมในบ้าน

กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้า เพื่อให้มีการพัฒนาสมองของเด็กให้ตื่นตัวและทำ
หน้าที่ได้อย่างมีศักยภาพ เนื่องจากเด็กออทิสติคจะแสดงพฤติกรรมไม่รับรู้ ไม่ตอบ
สนองหรือตอบสนองน้อยหรือมากไป ต่อสิ่งเร้าประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ

1.1 การกระตุ้นประสาทสัมผัสทางผิวกาย เพื่อให้รับรู้ถึงความใกล้ชิดระหว่าง
บุคคล การเล่นปูไต่ การเล่นจั๊กจี้ด้วยมือ การใช้จมูกหรือคางซุกไซ้ตามตัวเด็ก การ
นวดตัว การอุ้ม การกอด ทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดความรัก ความอบอุ่น ความมีเยื่อใย
ซึ่งกันและกัน ซึ่งในเด็กออทิสติคนั้น จะแยกตัวจากบุคคล จึงควรดึงเขาเข้ามาหา
เรา สร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่และเด็กออทิสติคก่อน ควรกระตุ้นซ้ำๆทุก
วัน
 
1.2 การกระตุ้นประสาทสัมผัสทางตา เด็กออทิสติคทุกคนมีปัญหาในการสบตา
อย่างมากเนื่องจากมีการสูญเสียทางด้านสังคม และการสื่อความหมาย การกระตุ้น
ในระยะเริ่มแรกจะเน้นเฉพาะการมองสบตากับบุคคลก่อน 

1.3 การกระตุ้นประสาทสัมผัสทางหู จะใช้เสียงบุคคลที่ใกล้ชิดกับเด็ก โดย
กระซิบเรียกชื่อเด็กที่ข้างหู ต่อไปอาจใช้เสียงดนตรีช่วย เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้และ
การสื่อความหมาย 

1.4 การกระตุ้นประสาทสัมผัสทางจมูก เพื่อให้เด็กได้รับรู้และเรียนรู้ถึงความแตก
ต่างของกลิ่น เช่น กลิ่นอาหาร ผลไม้ ดอกไม้ เป็นต้น 

1.5 การกระตุ้นประสาทสัมผัสทางลิ้น เพื่อให้เด็กได้รับรู้และเรียนรู้ความแตกต่าง
ของรสอาหาร เช่นเปรี้ยว หวาน เค็ม ขม เป็นต้น
2. สอนให้เด็กรู้จักตนเองและบุคคลในครอบครัว
 ฝึกเด็กให้รับรู้ว่าตัวเองชื่ออะไร คนไหนคือพ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นการสอนให้เด็กได้
รับรู้และเข้าใจว่าบุคคลในครอบครัวมีความแตกต่างกันการสอนให้เด็กรับรู้และ
เรียนรู้ความแตกต่างของบุคคล เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อความหมายและ
สังคมในระยะแรก
3. การหันตามเสียงเรียก
 เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักชื่อของตนเอง ตอบสนองต่อเสียงเรียกชื่อตนเอง ซึ่งเป็นการ
กระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการงด้านการสื่อความหมายและมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
มากขึ้น
4. การจับมือเด็กให้ทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง
 เด็กออทิสติคส่วนมากไม่สามารถชี้บอกความต้องการได้ จึงใช้วิธีจับมือบุคคลที่
อยู่ใกล้ไปทำสิ่งนั้นแทน ผู้ฝึกจำเป็นต้องจับมือเด็กให้ทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง 
เป็นการเสริมสร้างความมั่นใจและช่วยลดปัญหาทางอารมณ์ของเด็กด้วย
5. การฝึกกิจวัตรประจำวัน
 เริ่มฝึกให้เด็กรู้จักสิ่งของเครื่องใช้ที่ต้องใช้ในการฝึกกิจกรรมนั้นก่อน จนสามารถ
หยิบจับหรือชี้สิ่งของได้ถูกจึงฝึกต่อไป กิจกรรมที่ฝึกเช่น การทำความสะอาด
ร่างกาย การฝึกแต่งกาย ฝึกการขับถ่าย การใช้ช้อนรับประทานอาหาร
6. การเล่น
 ฝึกเด็กให้รู้จักเล่นของเล่นจะเป็นการเชื่อมโยงการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ
ความหมายและปรับอารมณ์ให้ดีได้ด้วย
7. ฝึกการสื่อสารด้วยการใช้ท่าทาง
 ควรฝึกให้เด็กสามารถสื่อสารด้วยภาษาท่าทางก่อนเพื่อบอกถึงความต้องการของ
ตนเอง จากนั้นฝึกกล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับพูด เช่น เป่ากบ เป่าสำลี ดูดหลอด ฯลฯ 
และฝึกพูดต่อไป(อ่านเพิ่มเติมในคู่มือฝึกพูดเด็กออทิสติคสำหรับผู้ปกครอง)
8. การรับรู้การแสดงออกทางสีหน้า
 ฝึกให้เด็กสามารถรับรู้อารมณ์และความต้องการ เพื่อให้เด็กอยู่ในสังคมนอกบ้าน
ได้อย่างเหมาะสม(อ่านเพิ่มเติมในคู่มือดูแลเด็กออทิสติคสำหรับผู้ปกครอง)
9. การรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยานั้นต้องอยู่ในการดูแลและจ่ายยาโดยแพทย์ ซึ่งไม่มียาที่ใช้รักษา
โรคออทิซึมโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่ถ้าจำเป็นต้องใช้ยา ก็จะเป็นการใช้ยาตามอาการ 
เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น อาการอยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ อารมณ์หุนหัน
พลันแล่น พฤติกรรมก้าวร้าว เป็นต้น โดยยาที่แพทยืจะจ่ายส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น
ตามการรักษาดังนี้
   1. พฤติกรรมผิดปกติ เช่น ทำอะไรซ้ำๆ  ไม่ยอมเผลี่ยนแปลงในสิ่งที่เคยชิน และ
ยึดติดกับวัตถุสิ่งของ ให้ haloperidol, clomipramine (Anafranil™) หรือ fluoxetine 
(Prozac™)
2. พฤติกรรมซนผิดปกติ ขาดสมาธิ และขาดการยับยั้งชั่งใจ ให้ clonidine หรือ  
imipramine ถ้ายังไม่ได้ผลให้ haloperidol ผู้ที่ไม่มีโรคทางระบบประสาทให้ 
methylphenidate
  3. อาการกระตุก ให้ haloperidol หรือ pimozide
  4. พฤติกรรมแยกตัวเอง ให้ naltrexone (opiate antagonist)
  5. อาการซึมเศร้า ให้ TCAs หรือ SSRIs อาการแมเนีย ให้ lithium
  6. พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ให้ haloperidol, carbamazepine, lithium
  7. พฤติกรรมทำร้ายตัวเองให้ naltrexone, haloperidol , trazodone
  8. อาการนอนไม่หลับ เช่นเปลี่ยนเวลานอนโดยหลับกลางวัน ลัตื่นตอนกลางคืน 
รักษาโดยเปลี่ยนวงจรของการหลับ และตื่น บางรายนอนน้อยให้ melatonin หรือ  
Benadryl รายที่เป็นมากให้  imipramine
  9. อาการหลงผิด หูแว่ว และพฤติกรรมแปลกประหลาด หรือ catatonia ให้ 
haloperidol
  10. บางคนเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วยการให้ยา Ritalin ก็สามารถให้ผลดี

วิดีโอเเสดงอาการของเด็กออทิสติก



เอกสารอ้างอิง

วงพักร์ ภู่พันธ์ศรี. จิตวิทยาเด็กพิเศษ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ  : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2545
พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์ และ สุวพิชชา  ประสิทธิธัญกิจ. การศึกษาพิเศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ  : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2550
สมภพ เรืองตระกูล. ตำราจิตเวชศาสตร์.  พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ  :  โรงพิมพ์เรือนแก้ว, 2542
โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์. 2555. เทคนิคการดูแลเด็กออทิสติก[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.yuwaprasart.com
ศูนย์วิชาการแฮปปี้โฮม. 2555. ออทิสติก[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.happyhomeclinic.com/au02-autism.htm