(กลุ่มโครงสร้างของจิต
((Structuralism)
กลุ่มโครงสร้างทางจิต
(Structuralism)
หรือกลุ่มโครงสร้างนิยม ก่อตั้งโดยวิลเฮล์ม วุนต์ (Wilhelm
Woundt,1832 - 1920)
วิลเฮล์ม
วุ้นต์ (Wilhelm
Woundt,1832 - 1920)
กลุ่มนี้มุ่งศึกษาส่วนประกอบต่าง
ๆ ซึ่งกลุ่มคิดว่าเป็นโครงสร้างของจิต และสรุปสาระแนวคิดว่ามนุษย์มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยลักษณะที่เป็นหน่วยย่อยที่เรียกว่า
ธาตุทางจิตซึ่งแยกเป็น
1.
การสัมผัส (Sensation) คือการทำงานของอวัยวะรับสัมผัสทั้ง
5 ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวหนัง โดยการตอบ
สนองต่อสิ่งเร้านั้น ๆ เช่น ตามองเห็น จมูกได้กลิ่น ฯลฯ
2.
การรู้สึก (Feeling) คือการตีความหรือแปลความหมายของการสัมผัส
เช่น การมองเห็นสิ่งเร้า ก็ตีความหมายว่า สวย ไม่สวย หูได้ยินก็ตีความหมายว่า ไพเราะ เป็นต้น
3.
มโนภาพ (Image) คือการคิดและการวิเคราะห์
ตลอดจนการจดจำประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการสัมผัสและ รู้สึก
ทั้ง
3 อย่างนี้ประกอบเป็นพื้นฐานของจิตทำนองเดียวกับสารประกอบทางเคมี ซึ่งเกิดจากการรวมตัวเป็นสัดส่วน
ของธาตุต่าง ๆกลุ่มแนวคิดโครงสร้างทางจิต ใช้วิธี การศึกษาด้วยการตรวจสอบตนเองหรือพินิจภายใน
(Introspection)โดยให้เจ้าตัว บรรยายความรู้สึก
หรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายในใจให้ทราบ เพราะตนเองย่อมเข้าใจความคิด ความรู้สึก
การตัดสิน ใจของตนเองได้ดีกว่าผู้อื่น
วิลเฮล์ม
วุ้นท์ (Wilhelm
Wundt,1832-1920) นักจิตวิทยาได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดา
ของจิตวิทยาแผนใหม่เชิงวิทยาศาสตร์ วูนท์ ศึกษาโครงสร้างของจิต (Structuralism)มีความเชื่อว่า จิตประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ เหมือนกับสสาร ประกอบ ด้วยธาตุ ต่างๆ โครงสร้างของจิตมี 3 ส่วน ประกอบด้วยส่วนที่ 1 ความรู้สึก (Feeling) ส่วนที่ 2 ประสาทสัมผัส (Sensation) และส่วนที่ 3 มโนภาพ (Image)
ของจิตวิทยาแผนใหม่เชิงวิทยาศาสตร์ วูนท์ ศึกษาโครงสร้างของจิต (Structuralism)มีความเชื่อว่า จิตประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ เหมือนกับสสาร ประกอบ ด้วยธาตุ ต่างๆ โครงสร้างของจิตมี 3 ส่วน ประกอบด้วยส่วนที่ 1 ความรู้สึก (Feeling) ส่วนที่ 2 ประสาทสัมผัส (Sensation) และส่วนที่ 3 มโนภาพ (Image)
การศึกษาทดลองของวูนท์ใช้วิธีการสำรวจตัวเอง
(Introspection)
ใช้การทดลองโดยใช้
สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้น เช่นไฟฟ้าสีระดับเสียงสูงและตํ่ากลิ่นอุณหภูมิความร้อนความหนาวเป็นต้น
ผู้ถูกทดลองจะเป็นผู้เล่ารายละเอียด ความรู้สึก ประสาท สัมผัส และมโนภาพ จากประสบการณ์
ที่ตนได้รับจากการทดลองว่าความรู้สึกอย่างไรเมื่อได้รับสิ่งเร้าต่างๆเป็นตัวกระตุ้นซึ่งต้องอาศัย
ประสบการณ์ ของแต่ละคน ที่มีอยู่เดิม
สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้น เช่นไฟฟ้าสีระดับเสียงสูงและตํ่ากลิ่นอุณหภูมิความร้อนความหนาวเป็นต้น
ผู้ถูกทดลองจะเป็นผู้เล่ารายละเอียด ความรู้สึก ประสาท สัมผัส และมโนภาพ จากประสบการณ์
ที่ตนได้รับจากการทดลองว่าความรู้สึกอย่างไรเมื่อได้รับสิ่งเร้าต่างๆเป็นตัวกระตุ้นซึ่งต้องอาศัย
ประสบการณ์ ของแต่ละคน ที่มีอยู่เดิม
เนื้อหาหลัก
|
เป้าหมายการศึกษา
|
วิธีการค้นคว้า
|
ทัศนะต่อมนุษย์
|
สิ่งที่เน้น
|
ประสบการณ์จิตสำนึก
|
แยกดูเพื่อรู้จักธาตุจิต
ผัสสะ ความรู้สึก และมโนภาพ |
ตรวจสอบจิตใจตนเอง
Introspection |
กลาง
|
บุคคล
|
WILHELM
MAX WUNDT (ค.ศ.๑๘๓๒
- ๑๙๒๐) กลุ่มนี้ใช้วิธีการศึกษาแบบตรวจสอบจิตตนเอง
(INTROSPECTION) และการทดลองควบคู่กันโดยพิจารณาความรู้สึกหรือความคิดของตนเอง
กลุ่มนี้มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่จิตสำนึกของมนุษย์และเห็นว่าโครงสร้างของจิตนั้นประกอบด้วย
MENTAL ELEMENT ๓ ชนิดคือ ความรู้สึก (FEELING) การสัมผัส (SENSATION) และมโนภาพ (IMAGE) ทั้ง ๓
สิ่งนี้เมื่อรวมกันภายใต้สถานการณ์ที่เหมาะสมก็จะก่อให้เกิดรูปจิตผสมขึ้นเช่น
ความคิด อารมณ์ ความจำ การหาเหตุผล ฯลฯ
แนวความคิดจิตวิทยากลุ่มต่าง
ๆ
ดังกล่าวต่างก็มีบทบาทในการศึกษาเพื่ออธิบายพฤติกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ลำพังวิชาจิตวิทยาอย่างเดียวมิได้ทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ได้แจ่มแจ้งแต่เป็นเพียงพื้นฐานเป็นรากฐานในการศึกษาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง แท้จริงแล้วปัจจุบันนี้การค้นคว้าศึกษาวิชาจิตวิทยาไม่อาจยึดปรัชญาแนวความคิดของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะได้
จำเป็นต้องนำแนวความคิดและวิธีการจากทุกกลุ่มหรือบางกลุ่มผสมผสานกัน
อาจมากบ้างน้อยบ้างตามแต่พฤติการณ์และสถานการณ์จะอำนวย
จะเห็นได้ว่ากลุ่มแนวความคิดทางจิตวิทยาบางกลุ่มมีความเชื่อความคิดเห็นขัดแย้งกันเอง จึงเป็นการยากที่จะตัดสินใจรับเอาแนวความคิดของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะมาใช้ให้ได้ดีได้
HILGARD นักจิตวิทยาคนสำคัญกล่าวว่าอย่าไปพยายามค้นหาทฤษฎีทางจิตวิทยาที่ถูกต้องที่สุดให้เสียเวลาเปล่า
ๆ เพราะแม้จะใช้ความพยายามเท่าใดก็ไม่อาจหาพบได้
ในเมื่อแต่ละกลุ่มต่างยืนยันว่าความคิดของกลุ่มตนถูกต้อง
วิธีการที่ดีและเหมาะสมที่สุดคือ
ศึกษาแนวความคิดของทุกกลุ่มอย่างละเอียดลึกซึ้งแล้วเลือกเอามาแต่ส่วนที่เห็นได้ชัดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ที่สุดภายใต้สถานการณ์ที่เราต้องเผชิญ
วิชาจิตวิทยานั้นมีสาขากว้างขวางมากเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการมีมาเป็นลำดับ
ทำให้ผู้ที่ศึกษาไปแล้วมีความสนใจความถนัดด้านใดมากก็จะค้นคว้าพัฒนาในเรื่องนั้น ๆ
อย่างละเอียดทำให้เกิดวิชาจิตวิทยาสาขาใหม่ ๆ ขึ้นได้ วิทยาทั่วไป
จิตวิทยาสรีรศาสตร์ (PHYSIOLOGICAL
PSYCHOLOGY) จิตวิทยาอปกติ (ABNORMAL
PSYCHOLOGY) จิตวิทยาพัฒนาการ (DEVELOPMENTAL PSYCHOLOGY) ซึ่งแบ่งออกเป็นจิตวิทยาพันธุกรรม (GENETICS) จิตวิทยาเด็ก
จิตวิทยาวัยรุ่น ต่อมาก็มีจิตวิทยาเปรียบเทียบ
จิตวิทยาการทดลอง จิตวิทยาธุรกิจ จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาความมั่นคง จิตวิทยาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
สำหรับทหารนั้นก็มีจิตวิทยาทหาร
ซึ่งประเทศบางประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้ความสนใจมาโดยตลอด เช่นประเทศเยอรมันมีหน่วยจิตวิทยาทหารเรียกว่า MILITARY PSYCHOLOGY อยู่ในกองทัพบกตั้งแต่
ค.ศ.๑๙๒๙ส่วนประเทศอังกฤษมีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเล็กน้อยมีการจัดในระดับกรมในกองทัพบกอังกฤษเรียกว่า
DIRECTORATE OF ARMY PSYCHIATRY สำหรับสหรัฐอเมริกาก็เช่นเดียวกับอังกฤษแต่มีกิจการใหญ่โตกว้างขวางกว่าอังกฤษและเยอรมันมากเรียกว่า
MILITARY PSYCHIATRY หน่วยงานจิตวิทยาทหารดังกล่าวทำหน้าที่แต่เริ่มเข้าร่วมในการคัดเลือกนายทหารสัญญาบัตร และการตรวจคัดเลือกกำลังพลประเภทอื่น
ๆ ตลอดจนรับปรึกษาตรวจและบำบัดรักษาผู้ที่ป่วยเป็นโรคจิต
ป้องกันและศึกษาหาสาเหตุตลอดจนวิธีการเกี่ยวกับขวัญของทหารเป็นต้น เพราะบุคคลที่มีอาชีพเป็นทหารไม่ว่าจะโดยถูกเกณฑ์หรืออาสาสมัครเข้ามาก็ตามแม้ในยามปกติงานก็มีลักษณะตรากตรำเหน็ดเหนื่อยต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละและต้องเผชิญหรือเสี่ยงอันตรายเสมออยู่แล้ว สำหรับในเวลาสงครามนั้นความเสี่ยงก็อยู่ในขั้นวิกฤติเป็นหลายเท่าของเวลาปกติความบีบคั้นทางร่างกายแม้อาจจะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นแต่จิตใจที่ถูกบีบคั้นอาจทรุดโทรมลงจนทำให้เสียขวัญหรือเสียวินัยและมีอาการของโรคจิตปรากฏขึ้น
วงการทหารมีความสนใจในเรื่องจิตใจของทหารและวิชาจิตวิทยาอย่างจริงจังตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมา
ทั้งขยายขอบเขตกว้างขวางออกไปอย่างมากและรวดเร็ว ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองได้มีการนำวิชาจิตวิทยามาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำสงครามที่เรียกว่า “สงครามจิตวิทยา” นอกเหนือไปจากการใช้หลักวิชาจิตวิทยาในการฝึกอบรม
ป้องกันทหารไม่ให้เป็นโรคจิตอันเนื่องจากความวิตกกังวลใจในระหว่างการฝึก
การปฏิบัติงาน การรบ และการถูกกักขัง เมื่อถูกจับเป็นเชลยศึกหรือถูกทรมาน
รวมทั้งการแก้ปัญหาอื่น ๆ อีกหลายประการ